การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางกายภาพของพันธุ์ข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 5)
ชูชาติ สวนกูล มนูญ เอนกชัย สุเทพ ฤทธิ์แสวง รุจิรา ปรีชา มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน และ จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2537
บทคัดย่อ
วิธีดำเนินงาน ฤดูนาปี 2536 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง โดยมีขั้นตอน
และวิธีการ ดังนี้ 1. ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าว จากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิต
ข้าวไร่ภายในสถานี ระหว่างสถานี และในนาราษฎร์ จากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง
และสถานีทดลองเครือข่าย 2. เครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจสอบคุณภาพ
เมล็ด เช่น 2.1 เครื่องทำลายความสะอาดเมล็ด เครื่องวัดความชื้น เครื่องตวง
และเครื่องชั่ง 2.2 เครื่องกระเทาะเปลือก เครื่องขัดข้าวขาว และเครื่องคัด
แยกข้าวหัก 2.3 เครื่องวัดขนาดเมล็ด กระดานคัดท้องไข่และเครื่องมือ
เครื่องใช้อื่น ๆ วิธีการ 1. สุ่มตัวอย่างข้าวส่วนหนึ่งไปดูสีเปลือก เพื่อตรวจ
สอบสีของข้าวเปลือก และข้าวปนด้วยตาเปล่า 2. วัดขนาดเมล็ด ความยาว
กว้างและความหนาของเมล็ด ตัวอย่างละ 10 เมล็ด แล้วหาค่าเฉลี่ย
3. นำข้าวกล้องส่วนหนึ่งมาขัดเป็นข้าวสาร แล้วสุ่มตัวอย่างเมล็ดข้าวสารเต็ม
เมล็ดที่สมบูรณ์ 100 เมล็ด เพื่อประเมินค่าท้องไข่ด้วยสายตา
4. หาคุณภาพการสี วิเคราะห์เป็นทางการทดลองเท่านั้น ผลงานที่ได้
ปฏิบัติมาแล้ว จากการวิเคราะห์เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้
ที่ปลูกในฤดูนาปี 2536 จำนวน 126 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์
คุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า ข้าวส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟางกันจุด
และมีเปลือกสีน้ำตาล รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ผลการประเมินค่าท้องไข่
พบว่าส่วนใหญ่เป็นท้องไข่น้อยถึงระดับปานกลาง สรุปผลการทดลอง
ปริมาณการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพเมล็ดข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้
ได้รับตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่จากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง และสถานี
ทดลองข้าวกระบี่ รวมทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง ปลูกฤดูนาปี 2536/37
ส่วนใหญ่มีเปลือกสีฟาง รูปร่างเมล็ดยาวเรียว มีท้องไข่ระดับปานกลาง