บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 4)

วิเชียร พงศาปาน จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์ ชูชาติ สวนกูล สุเทพ ฤทธิ์แสวง รุจิรา ปรีชา และ มนูญ กาญจนภักดิ์

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2537

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้

วิธีดำเนินงาน นำตัวอย่างเมล็ดข้าว จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ภายใน

สถานีระหว่างสถานี และในนาราษฎร์ของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง, สถานีทดลองข้าวกระบี่,

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี และสถานีทดลองพืชสวนตรัง กระเทาะข้าวเปลือก และ

ขัดเป็นข้าวสาร บดข้าวสารด้วยเครื่อง Cyclotec sample mill ให้มีความละเอียด

80 เมช. และทำการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี คือ หาปริมาณอมิโลส ตามวิธีการของ

Juliano et at, 1981 ความคงตัวของแป้งสุก ตามวิธีการของ Cagampang et at,

1973, การสลายเมล็ดในด่าง ตามวิธีการของ Little et al, 1958, การยืดตัวของข้าวสุก

ตามวิธีการของ Juliano and Perze, 1984, กลิ่นหอมของข้าว โดยวิธีการสกัดกลิ่น

ด้วยน้ำเกลือ และดม ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ได้ทำการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี ของ

ตัวอย่างเมล็ดข้าวไร่ จากแปลงเปรียบเทียบผลลผิตระหว่างสถานี จำนวน 14 พันธุ์

ภายในสถานี จำนวน 24 พันธุ์/สายพันธุ์ และในไร่เกษตรกร จำนวน 8 พันธุ์ พบว่า

เป็นข้าวอมิโลสสูง 10.86 เปอร์เซ็นต์ ปานกลาง 80.43 เปอร์เซ็นต์ มีความคงตัว

ของแป้งสุกแข็ง 4.35 เปอร์เซ็นต์ ปานกลาง 10.87 เปอร์เซ็นต์ และอ่อน 84.78

เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำถึงปานกลาง การยืดตัวของข้าวสุก มีตั้งแต่

1.34-1.79 เท่าของข้าวดิบ สรุปผลการทดลอง จากการวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวไร่

จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 14 พันธุ์ ภายในสถานี จำนวน

24 พันธุ์/สายพันธุ์ และในนาราษฎร์ จำนวน 8 พันธุ์ พบว่า ข้าวส่วนใหญ่เป็น

ข้าวอมิโลสปานกลาง มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำถึงปานกลาง

การยืดตัวของข้าวสุกปกติ ข้าวส่วนใหญ่จะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ งานที่ดำเนินการต่อไป

นำข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุง

พันธุ์ข้าวไร่ต่อไป