การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของเมล็ดข้าวนาสวนสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 4)
ชูชาติ สวนกูล สุเทพ ฤทธิ์แสวง รุจิรา ปรีชา มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน และ จิณะวัฒน์ สุวรรณวงศ์
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2537
บทคัดย่อ
วิธีการดำเนินงาน นำตัวอย่างเมล็ดข้าว จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวน
นาน้ำฝนภายในสถานี ระหว่างสถานี และในนาราษฏร์ ของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงและ
สถานีทดลองเครือข่ายกระเทาะข้าวเปลือกและขัดเป็นข้าวสาร บดข้าวสารด้วย
เครื่อง Cyclotec samplemill ให้มีความละเอียด 80 เมช. และทำการวิเคราะห์
คุณสมบัติทางเคมี คือ หาปริมาณอมิโลส ตามวิธีการของ Juliano et al, 1981,
ความคงตัวของแป้งสุก ตามวิธีการของ Cagampang et al, 1973, การสลาย
เมล็ดในด่าง ตามวิธีการของ Little et at,1958, การยืดตัวของข้าวสุก ตามวิธีการของ
Juliano and Perze, 1984, กลิ่นหอมของข้าว โดยวิธีสกัดกลิ่นด้วยน้ำเกลือ
และดม ผลงานที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว ได้ทำการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี ของตัวอย่าง
เมล็ดข้าว จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 52 พันธุ์/สายพันธุ์
พบว่า เป็นข้าวอมิโลสสูง 86.54 เปอร์เซ็นต์ ปานกลาง 13.46 เปอร์เซ็นต์ มีความ
คงตัวของแป้งแข็ง 3.85 เปอร์เซ็นต์ ปานกลาง 11.54 เปอร์เซ็นต์ และอ่อน 84.61
เปอร์เซ็นต์ อัตราการยืดตัวของแป้งสุกเป็น 1.48-1.89 เท่าของข้าวดิบ ข้าวจากแปลง
เปรียบเทียบผลลผิตภายในสถานี จำนวน 80 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่า เป็นข้าวอมิโลสสูง
65 เปอร์เซ็นต์ ปานกลาง 35 เปอร์เซ็นต์ มีความคงตัวของแป้งแข็ง 7.5 เปอร์เซ็นต์
ปานกลาง 23.75 เปอร์เซ็นต์ และอ่อน 68.75 เปอร์เซ็นต์ อัตราการยืดของแป้งสุกเป็น
1.39-2.09 เท่า ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จำนวน 16 พันธุ์/สายพันธุ์
เป็นข้าวอมิโลสสูง 93.75 เปอร์เซ็นต์ และต่ำ 6.25 เปอร์เซ็นต์ มีความคงตัวของแป้ง
อัตราการยืดตัวของข้าวสุกเป็น 1.51-1.76 เท่าของข้าว สรุปผลการทดลอง จากการ
วิเคราะห์ตัวอย่างข้าว จากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 52 พันธุ์/สายพันธุ์
ภายในสถานี จำนวน 80 พันธุ์/สายพันธุ์ และในนาราษฎร์ จำนวน 60 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่า
ข้าวส่วนใหญ่เป็นข้าวอมิโลสสูง ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน