บทคัดย่องานวิจัย

การป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อรา Aspergillus flavus และสารแอฟลาทอกซินในข้าวโพดความชื้นสูงโดยการรมก๊าซไนโตรเจน : ระยะเวลาการรมก๊าซที่เหมาะสม

วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ วันเพ็ญ ศรีทองชัย อาคม สุ่มมาตย์ ณรงค์ศักดิ์ เสนาณรงค์ บังอร ธารพล และ อำนวย ทองดี

รายงานผลการวิจัยประจำปี 2540 เล่ม 1 (ข้าวโพด) ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถานีทดลองพืชไร่บ้านใหม่สำโรง สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท และสถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. หน้า 335-346.

2540

บทคัดย่อ

การป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อรา Aspergillus flavus และสารแอฟลาทอกซินในข้าวโพดความชื้นสูงโดยการรมก๊าซไนโตรเจน : ระยะเวลาการรมก๊าซที่เหมาะสม

การศึกษาระยะเวลาการเก็บรักษาที่เหมาะสมในการใช้ก๊าซไนโตรเจนรมกองข้าวโพดความ

ชื้นสูง เพื่อป้องกันการเน่าเสียและการเกิดสารแอฟลาทอกซินในข้าวโพดเป็นการชั่วคราว

โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนรมกองข้าวโพดที่มีอัตรา 0.5 กก./เมล็ด 1 ตัย รมกองข้าวโพดที่มี

ความชื้นโดยเฉลี่ย 24.7 % หลังจากกะเทาะมาแล้ว 1 วัน เป็นระยะเวลา 5,10 และ 15 วัน

เปรียบเทียบกับกองข้าวโพดที่เก็บในสภาพบรรยากาศปกติผลการทดลอง พบว่าสามารถ

เก็บรักษาข้าวโพดโดยการรมก๊าซไนโตรเจนได้นานถึง 15 วัน โดยไม่พบการเจริญของ

เชื้อรา A.flavus ด้วยตาเปล่า อุณหภูมิภายในกองคงที่ ( 30 องศาเซลเซียส) เมล็ดยังเลื่อน

ไหลเป็นปกติ แต่เมล็ดจะนิ่ม สีซีด และมีกลิ่นเปรี้ยวมากขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา

ส่วนกองข้าวโพดที่เก็บไว้ในสภาพบรรยากาศปกติ พบเชื้อราเข้าทำลายทั่วทั้งกองและมี

ปริมาณมากขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นถึง 56 องศาเซลเซียส

เมล็ดจับตัวเป็นก้อนและมีกลิ่นเหม็นหืน ในส่วนของการเกิดสารแอฟลาทอกซินนั้น พบว่า

ในปี 2538 ข้าวโพดที่นำมาทดลองมีการปนเปื้อนมาก่อนแล้วถึง 63 ppb ทำให้มีการ

ปนเปื้อนสูงทั้งในกองที่รมก๊าซ (35-94 ppb) และกองในสภาพบรรยากาศปกติ

(71-164 ppb) ส่วนปี 2539 พบการปนเปื้อนในกองที่รมก๊าซเพียง 0-5.2 ppb

ในขณะที่พบในกองสภาพบรยากาศปกติถึง 90-120 ppb