ศึกษาอายุการเก็บรักษาและการเสื่อมคุณภาพของหัวมันสำปะหลังพันธุ์เพื่ออุตสาหกรรม
จิณณจาร์ เศรษฐสุข สุนี ศรีสิงห์ จาริณี จันทร์คำ และ นเรศ สอนหลักทรัพย์
รายงานประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 83 หน้า. (2540)
2540
บทคัดย่อ
เพื่อทราบอายุการเก็บรักษาและลักษณะการเสื่อมคุณภาพของหัวมันสำปะหลัง พันธุ์เพื่ออุตสาหกรรม
ได้วางแผนการทดลองแบบ Factorial in RCB ทำ 4 ซ้ำ โดยปัจจัยแรกคือพันธุ์ 7 พันธุ์ ได้แก่ ระยอง1
ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 ระยอง 5 ศรีราชา 1 และเกษตรศาสตร์ 50 ปัจจัยที่ 2 คือ อายุการเก็บ
รักษาหัวมันสำปะหลัง ได้แก่ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทั้งในสภาพฤดูฝนและฤดู
แล้งโดยแต่ละฤดูจะมี 2 การทดลอง คือ การเก็บรักษาในร่ม (บนลานซีเมนต์มีหลังคา) และเก็บรักษากลาง
แจ้ง (ในแปลงปลูก) สำหรับการเก็บรักษาในฤดูฝน จากการประเมินด้วยสายตา พบว่า พันธุ์ที่เสื่อมคุณภาพ
ค่อนข้างเร็วกว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ พันธุ์ระยอง 3 และพันธุ์ระยอง 60 สำหรับลักษณะการเสื่อมคุณภาพของ
หัวมันสำปะหลังนั้น เมื่อเก็บรักษาไว้ 4 วัน จะไม่พบลักษณะการเปลี่ยนแปลงภายนอก (ยกเว้นหัวที่หัก)
แต่เมื่อผ่าดูตามแนวยาวของหัวจะพบการเปลี่ยนแปลงของเนี้อมันสำปะหลังเป้นสีเทาดำเป็นแนวยาว
และเมื่อเก็บรักษาไว้เว้นบางหัวจะเริ่มมีอาการเน่าและมีกลิ่น และพบแมลงจำพวกด้วงอยู่ในกองมันและ
เมื่อเก็บรักษาไว้ 8 วัน จะเน่าเละเป็นบางส่วนเกือบทุกหัว และเริ่มพบเชื้อราเข้าทำลายตรงบริเวณรอย
แผลของหัว และกองมันจะมีกลิ่นแรงมาก และที่อายุเก็บรักษา 10 วัน หัวมันสำปะหลังจะเน่าเละเกือบ
ทั้งหัว อย่างไรก็ตาม พบว่าในหัวมันสำปะหลังที่สับออกจากต้นโดยให้มี peduncle ติดอยู่กับหัว
และไม่ให้มีรอยแผลที่หัวเลยนั้นแม้จะเก็บรักษาไว้ 10 วัน ก็พบว่ามีลักษณะการเสื่อมคุณภาพน้อยมาก
เนื่องจากไม่มีบาดแผลให้เชื้อราและแบคทีเรียเข้าทำลาย และจาการเก็บในสภาพร่มและในแปลง พบ
ว่า การเก็บรักษาในร่มมีแนวโน้มว่าหัวมันสำปะหลังจะเน่าเร็วกว่ากลางแจ้งเนื่องจากขณะเก็บเกี่ยว
ฝนตกทำให้หัวมันเปียก แต่ในช่วงการเก็บรักษาระยะแรก ๆ ไม่มีฝนเลย ทำให้หัวมันที่เก็บไว้กลาง
แจ้งแห้ง ส่วนหัวมันที่เก็บไว้ในที่ร่มหัวเปียกชื้น จึงเหมาะต่อการเจริญของเชื้อรา สำหรับคุณภาพ
แป้งและผลการเก็บรักษาในสภาพฤดูแล้ง อยู่ระหว่าวิเคราะห์ และเก็บรวบรวมข้อมูล