ผลของอายุเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาที่มีการเปลี่ยนแปลงสีผิวและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของถั่วเขียว
สุวิมล ถนอมทรัพย์ ธีระพล ศิลกุล เชาวลิต รักบุญ และ อาณัติ วัฒนสิทธิ์
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2539 ถั่วเขียว และพืชไร่ในเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ชัยนาท. 298 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อหาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสีผิวของเมล็ดถั่วเขียวผิวมัน ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบในระหว่าง
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD มี4 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัย
A เป็นอายุเก็บเกี่ยว 6 ระยะ คือ 0,1,2,3,4และ 5 สัปดาห์ หลังสุกแก่ทางสรีระวิทยา และปัจจัย B เป็นอายุ
เก็บรักษา 5 ระยะ คือ 0,3,6,9และ 12 เดือนประกอบด้วย 2 งานทดลองคือการทดลองที่ 1 ใช้ถั่วเขียวพันธุ์
กำแพงแสน 1 ฝักสีดำ และการทดลองที่ 2 ใช้ถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน1 ฝักสีน้ำตาลอ่อน แต่การทดลองใช้
เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกจากฤดูแล้งและปลายฤดูฝน เก็บรักษาในสภาพอุณภูมิห้องแต่ละเดือนสุ่มตัวอย่างเมล็ดมา
ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสีผิวความชื้นความงอก และความแข็งแรงของเมล็ด รายงานผลการก้าวหน้าของ
การทดลอง ขณะนี้สรุปได้เพียงเมล็ดจากฤดูแล้ง ปี 2538 ฤดูปลายฝนปี 2538 และเมล็ดจากฤดูแล้งปี 2539
พบว่าเมล็ดจากฝักสดสีดำ จะมีสีเขียวเข้มกว่าเมล็ดจากฝักสดสีน้ำตาลอ่อนและพบการเปลี่ยนแปลงสีผิวเมล็ด
ของฝักสีดำดังนี้ เริ่มจากสีเขียว สีคล้ำ (เขียวเข้ม) สีเขียวปนเหลือง สีเหลืองและสีเหลืองอมน้ำตาล ในสัดส่วน
ที่แตกต่างกัน โดยเริ่มพบว่ามีเมล็ดสีเขียวคล้ำปะปนประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ที่เก็บเกี่ยวอายุ 4-5 สัปดาห์
หลังสุกแก่ และเมื่อนำไปผ่านการเก็บรักษาเป็นเวลานาน 3,6,9 และ 12 เดือนเมล็ดที่มีอายุการเก็บเกี่ยวมากจะ
มีอัตราการเปลี่ยนสีผิวเมล็ดเป็นสีเขียวคล้ำมากกว่า เมล็ดที่มีอายุเก็บเกี่ยวน้อยกว่า และเพิ่มและพบเมล็ดสีเขียว
ปนเหลือง และสีเหลืองอมน้ำตาลมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นจากเดือนที่ 6 ถึงเดือนที่ 12ของการเก็บรักษาเช่นเดียว
กันเมล็ดจากฝักสีน้ำตาลอ่อนก็มีการเปลี่ยนสีผิวแต่ต่างจากเมล็ดจากฝักสีดำ เนื่องจากมีสีผิวที่อ่อนกว่า ดังนั้น
การเปลี่ยนสีผิวจะเริ่มจากสีเขียว สีเขียวคล้ำปนเหลือง และสีเหลืองอมแดง ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน จนถึง
เดือนที่ 12 ของการเก็บรักษาแต่เมล็ดจากฝักสีน้ำตาลอ่อนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำปนเหลืองและสีเหลือง
ตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์หลังสุกแก่ และเริ่มพบเมล็ดสีเหลืองอมแดง ตั้งแต่เดือนที่ 6 ในเมล็ดที่มีอายุ เก็บ
เกี่ยวมากกว่าเมล็ดที่มีอายุเก็บเกี่ยวน้อย สำหรับคุณภาพความงอกในเดือนที่12 ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
ทั้งเมล็ดจากฝักสีดำและสีน้ำตาลอ่อน แต่ความแข็งแรงพบว่าเมล็ดจากฝักสีดำมีความแข็งแรงมากกว่า