ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อคุณภาพทางกายภาพและการหุงต้มรับประทานข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก (ระยะที่ 2)
นิวัติ เจริญศิลป์ ประเวศน์ ศิริเดช และ ประโยชน์ เจริญธรรม
รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 223-228.
2539
บทคัดย่อ
โรคเมล็ดด่างเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่งที่พบว่าระบาดในทุกท้องที่ โรคเมล็ดด่าง
เกิดจากเชื้อรา ทำให้เมล็ดข้าวเกิดแผล เป็นจุดสีดำและน้ำตาลทำให้เมล็ดลีบบางส่วนมีผลทำ
ให้ผลผลิตลดลง แต่ไม่เป็นที่ยืนยันว่าจะมีผลต่อคุณภาพเมล็ดมากน้อยเพียงใด จึงได้ทำการ
ทดลองศึกษาคุณภาพการสี และคุณภาพการหุงต้มรับประทานของเมล็ดข้าวที่เป็นโรคเมล็ด
ด่างในระดับความรุนแรงต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยการเก็บ
รวบรวมข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึกจากนาของศูนย์ฯ และนาเกษตรกร แล้วนำมาแบ่งกลุ่ม
เมล็ดออกเป็น 5 กลุ่มตามความรุนแรงของโรค หลังจากนั้นนำเมล็ดในแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์
คุณภาพการสีและคุณภาพการหุงต้มรับประทาน ในปี 2539 ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างข้าว
ที่เป็นโรครวม 5 แปลง พบว่าข้าวที่เป็นโรคส่วนใหญ่มีเปอร์เซ็นต์อมิโลสลดลง 3-4% ความ
คงตัวของแป้งสุกไม่เปลี่ยนแปลงข้าวที่เป็นโรคเมื่อหุงสุกแล้วไม่มีกลิ่น ส่วนเปอร์เซ็นต์ข้าว
หักของข้าวที่เป็นโรคไม่ลดลง สีของข้าวสารถ้าเป็นโรคมากถึงระดับเป็นแผลดำจะมีสีคล้ำ
ลง แต่ถ้าเป็นโรคในระดับเป็นจุดจะมีสีขาวตามธรรมชาติ