ผลของการลดความชื้นล่าช้าต่อคุณภาพเมล็ดและเมล็ดพันธุ์ข้าว
กิติยา กิจควรดี ไพฑูรย์ อุไรรงค์ นิพนธ์ มาฆทาน ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต ณัฐหทัย เอพานิช และ ยุวดา เกิดโก
รายงานวิจัยประจำปี 2539 เล่ม 2 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 774-784.
2539
บทคัดย่อ
การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด ข้าวที่ได้จะถูกบรรจุในกระสอบป่านแล้วกองรวมกันไว้
ในนาเพื่อรอจำหน่วยให้พ่อค้า หรือกองไว้ที่ลานตากโรงสีเพื่อรอตากหรือลดความชื้นต่อไปเมล็ด
ข้าวที่มีความชื้นสูง และการเก็บข้าวในสภาพเช่นนี้ภายในกระสอบข้าวจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบ
กับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงโดยเฉพาะในฤดูนาปรัง ทำให้เมล็ดข้าว เสื่อมคุณภาพอย่าง
รวดเร็ว จึงทำการศึกษาการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดและเมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อลดความชื้นล่าช้าภาย
หลังการเก็บเกี่ยวและนวด วิธีการดำเนินงาน เก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 ด้วยเครื่องเกี่ยว
นวดบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านและเก็บไว้ที่ลานตากคลุมผ้าพลาสติกในเวลาฝนตกและกลาง
คืน จัดเรียงกระสอบข้าว 2 กอง กองที่ 1 จัดเรียงข้าวแบบ 4x5 กระสอบ กองที่ 2 จัดเรียงข้าว
3x5x3 กระสอบ เมื่อกองไว้นาน 0 2 4 6 8 10 และ 14 วัน สุ่มข้าวตัวอย่างละ 5 กิโลกรัม
ลดความชื้นเมล็ดเหลือ 12% เก็บข้าวในถุงผ้าดิบเก็บรักษาที่สภาพอุณหภูมิห้องปฏิบัติการศูนย์
วิจัยข้าวปทุมธานี วิเคราะห์ความชื้นเมล็ด คุณภาพการสี ปริมาณเมล็ดข้าวเหลือง เปอร์เซ็นต์
ความงอกและปริมาณเชื้อราทุก ๆ เดือน นาน 12 เดือน การทดลองนี้ใช้ข้าวเปลือกปริมาณมาก
ไม่สามารถทำซ้ำการทดลองได้ จึงไม่ได้วิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติ ผลงานที่ได้ปฏิบัติ
มาแล้ว จากการสุ่มตัวอย่างข้าวเปลือกกองที่ 1 และกองที่ 2 จากส่วนบนส่วนกลางและส่วน
ล่างของกองข้าว ตัวอย่างละ 10 กิโลกรัม รวม 6 ตัวอย่างของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 60 ที่กอง
ไว้นาน 14 วัน ความชื้นเมล็ดเฉลี่ย 20.3% ทำการตรวจสอบปริมาณของสารพิษโดยกลุ่ม
งานวิจัยโรคพืชผลิตผลเกษตร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา พบว่าไม่พบสารพิษแอลฟลาทอกซิน
ในตัวอย่างข้าวทั้งหมด แม้ว่าจะตรวจสอบเชื้อราหลายชนิดในตัวอย่างข้าวที่ทำการทดลอง