ผลกระทบของสภาพนาขณะเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพทางกายภาพและการขัดสีของข้าวทนน้ำลึก
นิวัติ เจริญศิลป์ จารุวรรณ บางแวก ประเวศน์ ศิริเดช ประโยชน์ เจริญธรรม และ บุญรอด ใช้วัฒน์
รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 194-195.
2539
บทคัดย่อ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ข้าวขึ้นน้ำมีคุณภาพต่ำส่วนใหญ่เมื่อนำไปสีจะได้ข้าว
25 หรือ 35% ทั้งนี้เนื่องจากพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวเอง รวมทั้งการปฏิบัติของชาวนา
ขณะเก็บเกี่ยว จากการสำรวจตลาดข้าวขึ้นน้ำของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี ในปี 2534-36
พบว่า โรงสีทุกแห่งให้ความเห็นว่าคุณภาพข้าวทนน้ำลึกที่มีคุณภาพต่ำ เนื่องจากเกษตรกร
ปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวไม่ถูกวิธี เช่น เก็บเกี่ยวล่าช้ามาก หรือมีน้ำท่วมนาในขณะเก็บเกี่ยว
เป็นต้น จึงได้ศึกษาผลกระทบของการปฏิบัติในการเก็บเกี่ยว และสภาพของแปลงนาขณะ
เก็บเกี่ยว เพื่อประโยชน์ในการแนะนำส่งเสริมเกษตรกรต่ไป การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต และคุณภาพการสีของข้าวทนน้ำลึกที่เก็บเกี่ยวในเวลาต่างกันในย
สภาพดินแห้งและน้ำขัง รวมทั้งการปฏิบัติในการนวดและตากที่แตกต่างกัน การทดลอง
แบ่งเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ปล่อยน้ำออกเมื่อข้าวออกดอก 15 วัน และแปลงที่มีน้ำขัง
ตลอดจนกระทั่งเก็บเกี่ยวทำการเก็บเกี่ยวเมื่อ 30, 37 และ 44 วัน หลังข้าวออกดอก
และในการเก็บเกี่ยวแต่ละระยะมีการนวดและตาก 3 วิธี คือ ตากก่อนแล้วนวด นวดก่อน
แล้วตาก และนวดแล้วไม่ตาก จากนั้นนำผลผลิตไปประเมินคุณภาพการสี ในปี 2539
ทำการปักดำข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว 56 ในบ่อทดลองของสถานีทดลองข้าวหันตรา ผลการ
ทดลองปรากฏว่า การเก็บเกี่ยวข้าวที่มีอายุ 37 และ 40 วัน หลังออกดอก ทำให้ผลผลิต
ข้าวลดลงอย่างเห็นได้ชัด และทำให้มีเปอร์เซ็นต์ข้าวหักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยประมาณ 10%
การเก็บเกี่ยวข้าวในขณะนาแห้ง และนามีน้ำขังไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตและเปอร์เซ็นต์
ข้าวหักของข้าวปิ่นแก้ว 56 ส่วนการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า ถ้าหากเก็บเกี่ยวข้าว
เมื่ออายุ 30 วัน หลังออกดอก การเก็บเกี่ยวแล้วนวดทันทีก่อนไปตาก ทำให้มีเปอร์เซ็นต์
ข้าวหักน้อยกว่าการตากข้าวก่อนแล้วนวดหรือการนวดแล้วนำไปเก็บเลยโดยไม่ตาก
การเก็บเกี่ยวหลังออกดอก 37 และ 44 วัน การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวทุกวิธีไม่มีผลต่อ
เปอร์เซ็นต์ข้าวหัก