บทคัดย่องานวิจัย

คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพการสีของเมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย (ระยะที่ 2)

สุพัตรา สุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ และ สุมาลี สุทธายศ

รายงานผลการวิจัยประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2539

บทคัดย่อ

คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพการสีของเมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย

การศึกษาคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพการสีของเมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย ทำการ

ทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ใช้ข้าวสุพรรณบุรี 60 ทำการทดลองระหว่างเดือนมิถุนายน

2537- พฤศจิกายน 2539 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ โดยมีระดับความเสียหาย

ของแมลงสิงเข้าทำลาย 5 ระดับ คือ 2,  4, 8,  16 และ 32 ตัว/ตร.ม. เปรียบเทียบกับไม่ปล่อย

แมลงสิง และในการทดลองปีที่ 2 กรรมวิธี 2 ตัว/ตร.ม. ได้ตัดออก เพิ่มกรรมวิธี 64 ตัว/ตร.ม.

เนื่องจากการทำลายของ 2 และ 4 ตัว/ตร.ม. ไม่แตกต่างกันเด่นชัด นำเมล็ดข้าวที่ปล่อยแมลง

สิงเข้าทำลายไปวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพ ระดับความรุนแรงของการทำลายของ

แมลงสิง และคุณภาพการสี ผลการทดลองคุณภาพเมล็ดทางกายภาพ ความกว้าง ความยาว

ความหนา ขนาดรูปร่างเมล็ดและท้องไข่ ทั้ง 2 ปี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระดับความ

รุนแรงขแงการทำลายโดยแมลงสิง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ทั้ง 2 ปี

ในปี 2537 เมื่อปล่อยแมลงสิงจำนวนสูงสุด 32 ตัว/ตร.ม. จะมีการทำลายมากที่สุดค่าคะแนน

0.150 และไม่ปล่อยเลย 0 ตัว/ตร.ม. จะมีการทำลายน้อยที่สุดค่าคะแนน 0.003 ในปี 2538

ปล่อยแมลงสิงสูงสุด 64 ตัว/ตร.ม. จะมีการทำลายมากที่สุด ค่าคะแนน 0.435 และเมื่อปล่อย

0.4 ตัว/ตร.ม. จะมีการทำลายน้อยที่สุด ค่าคะแนน 0.090 และ 0.080 ตามลำดับ คุณภาพ

การสี เปอร์เซ็นต์แกลบ เปอร์เซ็นต์รำ และเปอร์เซ็นต์ข้าวหักไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

ทั้ง 2 ปี  ปี 2537 เปอร์เซ็นต์แกลบ 21.0% เปอร์เซ็นต์รำ 7.6 %และเปอร์เซ็นต์ข้าวหัก

6.9% ปี 2538 เปอร์เซ็นต์แกลบ 22.6% เปอร์เซ็นต์ 8.5% และเปอร์เซ็นต์ข้าวหัก 8.1

การทดลองในปี 2538 เปอร์เซ็นต์ข้าวสารมีแนวโน้มว่าถ้าปล่อยแมลงสิงจำนวน 64 ตัว/

ตร.ม. จะทำให้เปอร์เซ็นต์ข้าวสารมี 67.3% ลดน้อยลงกว่าไม่ปล่อยแมลงสิง มีเปอร์เซ็นต์

ข้าวสาร 69.6% ในทำนองเดียวกันกับเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ด และต้นข้าว ถ้าปล่อยแมลง

สิง 32,  64 ตัว/ตร.ม. ได้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว 59.1 และ 59.2% ตามลำดับ น้อยกว่าเมื่อ

ปล่อยแมลงสิง 0,  4,  8 และ 16 ตัว/ตร.ม. ได้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าว 60.9,  61.4,  62.5 และ

61.1% ตามลำดับ