บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางภายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 3)

ชูชาติ สวนกูล สุเทพ ฤทธิ์แสวง มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน และ จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์

รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร

2539

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพเมล็ดทางภายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาสวนในระบบนาชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ให้เพียงพอกับการ

บริโภค ในภาคใต้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพเมล็ดทางกายภาพบางประการของ

พันธุ์ข้าวควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวตรงกับความต้องการของเกษตรกร และถูกต้องตรง

ตามมาตรฐานกำหนดการดำเนินงาน โดยได้รับตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าว จากโครงการวิจัยปรับปรุง

พันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทาน ของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงและสถานีทดลองข้าวในเครือข่ายในปี

2538/39 จำนวน 220 พันธุ์/สายพันธุ์ รวม 444 ตัวอย่าง ซึ่งผลการปฏิบัติงานวิเคราะห์คุณ

สมบัติทางกายภาพ แปลงเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทานภายในสถานี จำนวน

140 ตัวอย่าง พบว่า เมล็ดข้าวมีเปลือกเมล็ดสีฟาง 63.58 เปอร์เซ็นต์ สีน้ำตาล 7.86 เปอร์เซ็นต์

สีฟางก้นจุด 9.29 เปอร์เซ็นต์ สีฟางก้นจะมีหางบางเมล็ด 3.58 เปอร์เซ็นต์ และอีก 11.40

เปอร์เซ็นต์ พบลักษณะอื่น ๆ เช่น สีฟางมีหางเล็กน้อย และสีฟางมีกระสีน้ำตาลบางเมล็ด ความ

ยาวของเมล็ดพบว่า เมล็ดมีความยาวตั้งแต่ 7.50 มิลลิเมตร ขึ้นไป 20 เปอร์เซ็นต์ ความยาว

ระหว่าง 6.61-7.50 มิลลิเมตร 71.43 เปอร์เซ็นต์ และระหว่าง 5.51-6.60 มิลลิเมตร 8.57

เปอร์เซ็นต์ ส่วนการประเมินค่าท้องไข่ พบว่ามีค่าท้องไข่ในระดับน้อย 83.57 เปอร์เซ็นต์

ปานกลาง 12.26 เปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างมาก 1.43 เปอร์เซ็นต์ และ มาก 2.14 เปอร์เซ็นต์

แปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 288 ตัวอย่าง พบว่า มีเปลือกสีฟาง 91.60

เปอร์เซ็นต์ เปลือกสีฟางมีกระสีน้ำตาลบางเมล็ด 3.40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์

มีเปลือกสีน้ำตาล ความยาวของเมล็ดข้าว พบว่า มีความยาวเมล็ดตั้งแต่ 7.50 มิลลิเมตร

ขึ้นไป 23.61 เปอร์เซ็นต์ ระหว่าง 6.61-7.50 มิลลิเมตร 72.22 เปอร์เซ็นต์ และระหว่าง

5.51-6.60 มิลลิเมตร 4.17 เปอร์เซ็นต์ การประเมินค่าท้องไข่พบว่ามี ค่าท้องไข่ระดับ

น้อย 98.61 เปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างมาก 1.39 เปอร์เซ็นต์ และแปลงเปรียบเทียบผลผลิตใน

นาราษฎร์ จำนวน 16 ตัวอย่าง พบว่าเมล็ดข้าวมีเปลือกสีฟาง 87.5 เปอร์เซ็นต์ เปลือก

สีฟางมีหางเล็กน้อย 12.50 เปอร์เซ็นต์ความยางของเมล็ดข้าว พบว่าความยาวเมล็ด

ตั้งแต่ 7.50 มิลลิเมตร และระหว่าง 6.61-7.50 มิลลิเมตร และละระดับมี 50 เปอร์เซ็นต์

และมีค่าท้องไข่ในระดับน้อย