การศึกษาคุณภาพทางกายภาพของข้าวในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก (ระยะที่ 5)
จิตติชัย อนาวงษ์ สุมาลี สุทธายศ วรรณกรณ์ อินทรสถิตย์ และ สุพัตรา สุวรรณธาดา
รายงานผลการวิจัยประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
ฤดูเพาะปลูกนาปรังปี 2538 ทำการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวจากการ
ทดลองเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาชลประทานไม่ไวต่อช่วงแสงภายในสถานีและระหว่างสถานี
จำนวน 287 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างส่วนมากมีเปลือกสีฟางเมล็ดยาวเรียว ความใสของเมล็ดข้าว
สารปานกลาง มีระดับการเป็นท้องไข่น้อยกว่า 1 ฤดูเพาะปลูกนาปี 2538 ทำการวิเคราะห์คุณภาพ
ทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวจากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวนา
ชลประทาน และข้าวไร่ ในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการคัดเลือก
ข้าวพันธุ์ดี และทำการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวจากการทดลองอื่น ๆ
รวม จำนวน 1,116 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างข้าวส่วนมากมีเปลือกสีฟาง เมล็ดยาวเรียว ความ
ใสปานกลาง มีระดับการเป็นท้องไข่แตกต่างกัน ส่วนมากมีระดับท้องไข่น้อยกว่า 1 นอกจากนี้
ได้ทำการวิเคราะห์เมล็ดพันธุ์ข้าวตามโครงการ ACIAR จำนวน 953 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง
ข้าวมีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว และมีข้าวปนมาก ส่วนมากมีเปลือกสีฟาง เมล็ดค่อนข้างป้อม
ถึงยาวเรียว มีความใสปานกลาง ระดับการเป็นท้องไข่แตกต่างกันมากแต่ส่วนมามีระดับการ
เป็นท้องไข่น้อยกว่า 1 ฤดูเพาะปลูกนาปรังปี 2539 ทำการวเคราะห์คุณภาพทางการภาพของ
ข้าวจากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาชลประทานไม่ไวต่อช่วงแสง ภายในสถานีและ
ระหว่างสถานี จำนวน 37 การทดลอง รวม 815 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างข้าวส่วนมากมีเปลือก
สีฟาง เมล็ดยาวเรียว ความใสของเมล็ด ข้าวสารปานกลาง มีระดับการเป็นท้องไข่น้อยกว่า 1
ฤดูเพาะปลูกนาปี ปี 2539 ทำการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของข้าวจากการทดลองเปรียบ
เทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวนาชลประทาน และข้าวไร่ ในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
จำนวน 63 การทดลอง รวม 1,232 ตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างข้าวส่วนมากมีเปลือกสีฟาง เมล็ด
ยาวเรียว ความใสของเมล็ดข้าวสารปานกลาง มีระดับการเป็นท้องไข่แตกต่างกัน แต่ส่วนมากมี
ระดับการเป็นท้องไข่น้อยกว่า 1