การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่สายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 5)
รุจิรา ปรีชา สุเทพ ฤทธิ์แสวง มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์ และ ชูชาติ สวนกูล
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในท้องถิ่นให้เพียงพอกับการบริโภค
และเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีผลผลิตสูงมีคุณภาพ
การหุงต้มและรับประทานดี ได้นำตัวอย่างเมล็ดข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ ภายใน
สถานีระหว่างสถานี และในไร่นาเกษตรกรของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ศูนย์วิจัยพืชสวนสุราษฎร์ธานี
และสถานีทดลองข้าวกระบี่ ที่ปลูกในฤดูนาปี 2538/39 ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางด้านเคมี
ณ ห้องปฏิบัติการทางด้านเคมี ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ผลการวิเคราะห์เมล็ดข้าวไร่จากแปลงเปรียบ
เทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 26 พันธุ์/สายพันธุ์ 70 ตัวอย่าง พบว่าเป็นเป็นข้าวที่มีอมิโลส
ปานกลาง-สูง 17 พันธุ์/สายพันธุ์ อมิโลสสูง 7 พันธุ์/สายพันธุ์ และอมิโลสต่ำ-ปานกลาง 2 พันธุ์
ความคงตัวของแป้งสุกส่วนใหญ่ ปานกลาง-อ่อน และแข็ง-ปานกลาง มีค่าการสลายเมล็ดในด่าง
ตั้งแต่ 4.6-7.0 อัตราการยืดตัวของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.38-1.73 เท่าของข้าวดับ ข้าวจากแปลง
เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี จำนวน 34 พันธุ์/สายพันธุ์ 38 ตัวอย่าง พบว่าเป็นข้าวที่มี
ปริมาณอมิโลสสูง (25.10-30.48%) จำนวน 25 พันธุ์/สายพันธุ์ อมิโลสปานกลาง 8 พันธุ์/
สายพันธุ์และต่ำ 1 พันธุ์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 20 พันธุ์/สายพันธุ์ ปานกลาง 9 พันธุ์/
สายพันธุ์ และแข็ง 5 พันธุ์/สายพันธุ์ มีค่าการสลายเมล็ดในด่างตั้งแต่ 4.4-7.0 พบข้าวที่มี
อัตราการยืดตัวผิดปกติ 2 สายพันธุ์ คือ B4801F1MRS, GT6948-1-2-1-1-1P ส่วน
สายพันธุ์ CNA4140-1 เป็นข้าวที่มีอมิโลวต่ำแต่การสลายเมล็ดในด่าง 4.7 คาดคะเนได้ว่า
เมื่อหุงสุกแล้วข้าวจะแฉะ ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในไร่นาเกษตรกร มีจำนวน 8 พันธุ์
30 ตัวอย่าง พบว่าเป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลสปานกลาง-สูง และสูง ความคงตัวของแป้งสุก
แข็ง-อ่อน มีค่าการสลายเมล็ดในด่าง 5.0-7.0 อัตราการยืดตัวของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.38-1.94
เท่าของข้าวดิบ พบอัตราการยืดตัวข้าวสุกผิดปกติ 1 พันธุ์ คือ ข้าวเอก ข้าวทั้งหมดมีกลิ่นหอม
อ่อน ๆ 14 พันธุ์/สายพันธุ์ และคาดคะเนได้ว่า ข้าวส่วนใหญ่เมื่อหุงสุกแล้วจะไม่แข็งค่อนข้าง
ร่วน และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปประกอบการพิจารณา ปรับปรุงพันธุ์ข้าวไร่ และดำเนิน
การวิเคราะห์ตัวอย่างเมล็ดข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี 2540 ต่อไป