การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก
นิวัติ เจริญศิลป์ ประเวศน์ ศิริเดช และ ประโยชน์ เจริญธรรม
รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2537 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 200.
2539
บทคัดย่อ
สิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่คำนึงถึง คือคุณภาพการหุงต้มและรัปประทานข้าวไทย
เป็นที่ยอมรับว่าเป็นข้าวคุณภาพดี จึงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติทางการหุงต้มรับประทาน
เพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกข้าวให้มีคุณภาพดีควบคู่กับผลผลิตสูง สุ่มตัวอย่างข้าวสายพันธุ์
ต่าง ๆ มากะเทาะแล้วขัดด้วยเครื่องขัดข้าวในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี
แล้วนำมาวิเคราะห์ปริมาณอมิโลส ความคงตัวของแป้งสุก การยืดตัวของเมล็ด อุณหภูมิ
แป้งสุกและความหอม ในปี 2539 ได้ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพการหุงต้มรับประทาน
ของข้าว จากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 151 ตัวอย่าง การ
เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี จำนวนื 105 ตัวอย่าง การเปรียบเทียบผลผล่ตในนา
ราษฎร์ จำนวน 114 ตัวอย่าง การศึกษาพันธุ์ 313 ตัวอย่าง และการรวบรวมพันธุกรรม
96 ตัวอย่าง พบว่า ข้าวส่วนใหญ่มีปริมาณอมิโลสสูง (26-30%) มีข้าวที่มีอมิโลสใน
ระดับค่อนข้างต่ำเพียง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ PCR90164-1-B-2-2B, PCR90200-
1-B-3-2B, PCR89286-4B, HTA88116-5B-27 และ HTA88113-5B-26
และพบว่าความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแข็งถึงปานกลาง อุณหภูมิแป้งสุกอยู่ในระดับ
สูงและปานกลาง การยืดตัวของเมล็ดอยู่ระหว่าง 1.4-1.6 และไม่พบสายพันธุ์ใดที่มี
กลิ่นหอม