การศึกษาคุณภาพการหุงต้ม และรับประทานของเมล็ดพันธุ์ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 2)
รุจิรา ปรีชา สุเทพ ฤทธิ์แสวง มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์ และ ชูชาติ สวนกูล
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนั้น เพื่อต้องการให้ได้ข้าวสายพันธุ์ที่มีลักษณะดี
ทั้งในด้านผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดทางกายภาพรวมถึงการหุงต้ม และรับประทานดี และเพื่อใช้
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้นำตัวอย่างเมล็ดข้าวจากแปลง
เปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาชลประทานภายในสถานี ระหว่างสถานี และในไร่นาเกษตรกรของ
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถานีทดลองข้ากระบี่ สถานีทดลองข้าวนครศรีธรรมราช และสถานีทดลอง
ข้าวปัตตานี ที่ปลูกในฤดูนาปี 2538/39 ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ณ ห้องปฏิบัติ
การทางด้านเคมีศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างข้าวนาชลประทานจากแปลงเปรียบ
เทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน 72 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าเป็นข้าวอมิโลสสูง 55 พันธุ์/สายพันธุ์
ปานกลาง 13 พันธุ์/สายพันธุ์ และต่ำ 4 พันธุ ์/สายพันธุ์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 29 พันธุ์/
สายพันธุ์ ปานกลาง 31 พันธุ์/สายพันธุ์ และแข็ง 12 พันธุ์/สายพันธุ์ ค่าการสลายเมล็ดในด่าง
4.3-7.0 อัตราการยืดตัวของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.52-1.88 เท่าของข้าวดิบข้าวจากแปลงเปรียบ
เทียบผลผลิตภายในสถานี จำนวน 82 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าเป็นข้าวอมิโลสสูง 75 พันธุ์/สาย
พันธุ์ ปานกลาง 5 พันธุ์/สายพันธุ์ และต่ำ 2 สายพันธุ์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 13 พันธุ์/
สายพันธุ์ ปานกลาง 26 พันธุ์/สายพันธุ์ และแข็ง 43 พันธุ์/สายพันธุ์ มีค่าการสลายตัวในด่าง
ตั้งแต่ 4.4-7.0 อัตราการยือตัวของข้าวสุกผิดปกติ 7 สายพันธุ ์ พบข้าวกลิ่นหอม 6 สายพันธุ์
ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในไร่นาเกษตรกร จำนวน 8 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าส่วนใหญ่
มีปริมาณอมิโลสสูง ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน มีค่าการสลายเมล็ดในด่างตั้งแต่ 5.0-7.0
อัตราการยืดตัวของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.65-1.85 เท่าของข้าวดับ ข้าวมีกลิ่นหอม 2 สายพันธุ์
และนำผลที่ได้จากการวิเคราะหื ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทาน
และศึกษาคุณภาพเมล็ดทางเคมี ของข้าวนาชลประทานที่ปลูกในฤดูนาปี 2540 ต่อไป