การศึกษาคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของเมล็ดข้าวนาสวนสายพันธุ์ดีภาคใต้ (ระยะที่ 5)
รุจิรา ปรีชา สุเทพ ฤทธิ์แสวง มนูญ กาญจนภักดิ์ วิเชียร พงศาปาน จิณะรัตน์ สุวรรณวงศ์ และ ชูชาติ สวนกูล
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
ความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนั้น เพื่อต้องการให้ได้ข้าวสายพันธุ์ที่มีลักษณะดี
ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดทั้งทางด้านกายภาพการหุงต้มและรับประทานดี และเพื่อใช้เป็น
ข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าว ได้นำตัวอย่างเมล็ดข้าวจากแปลง
เปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาน้ำฝนภายในสถานี ระหว่างสถานีและในไร่นาเกษตรกร
ของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถานีทดลองข้าวนครศรีธรรมราช และสถานีทดลองข้าวปัตตานี
ที่ปลูกในฤดูนาปี 2538/39 ทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางเคมี ณ ห้องปฏิบัติการทาง
ด้านเคมีศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ผลการวิเคราะห์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนจากแปลงเปรียบเทียบ
ผลผลิตภายในสถานี จำนวน 155 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าเป็นข้าวอมิโลสสูง 147 พันธุ์/
สายพันธุ์ ปานกลาง 8 พันธุ์/สายพันธุ์ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน 27 พันธุ์/สายพันธุ์
ปานกลาง 51 พันธุ์-สายพันธุ์และแข็ง 77 พันธุ์/สายพันธุ์ อัตราการยืดตัวของข้าวสุก
มีตั้งแต่ 1.34-2.06 เท่าของข้าวดับ มียืดผิดปกติ 4 สายพันธุ์ ข้าวมีกลิ่นหอม 4 สาย
พันธุ์ ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีจำนวน 74 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่า
เป็นข้าวอมิโลสสูง 60 พันธุ์/สายพันธุ์ ปานกลาง 8 สายพันธุ์ และต่ำ 6 พันธุ์/สายพันธุ์
ความคงตัวของแป้งสุกอ่อนจำนวน 31 พันธุ์/สายพันธุ์ ปานกลาง 38 พันธุ์/สายพันธุ์
และแข็ง 5 พันธุ์/สายพันธุ์ อัตรายืดตัวของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.48-1.81 เท่าของข้าวดิบ
ข้าวมีกลิ่นหอม 14 สายพันธุ์ ข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในไร่นาเกษตรกร มีจำนวน
8 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่าเป็นข้าวอมิโลสสูง ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อัตราการยืดตัว
ของข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.50-1.77 เท่าของข้าวดิบ ข้าวทั้งหมดมีค่าการสลายตัวในด่างตั้งแต่
3.9-7.0 จากการวิเคราะห์สรุปผลการทดลองได้ว่าข้าวจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตภายใน
สถานีระหว่างสถานี และในไร่นาเกษตรกรจำนวน 237 พันธุ์/สายพันธุ์ 462 ตัวอย่าง พบว่า
ส่วนใหญ่เป็นข้าวอมิโลสสูง ความคงตัวของแป้งสุกปานกลางและแข็ง อัตราการยืดตัวของ
ข้าวสุกมีตั้งแต่ 1.34-2.06 เท่า ค่าการสลายตัวในด่างมีตั้งแต่ 5.0-7.0 พบข้าวมีกลิ่นหอม
18 สายพันธุ์ และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงพันธุ์ข้าวนา
สวนนาน้ำฝน และศึกษาคุณภาพเมล็ดทางเคมีของข้าวนาสวนนาน้ำฝนที่ปลูกในฤดูนาปี
2540 ต่อไป