บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางเคมีและการหุงต้มข้าวบาสมาติจากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์ และกระจายพันธุ์

สุนันทา วงศ์ปิยชน งามชื่น คงเสรี พูลศรี สว่างจิต และ ประนอม มงคลบรรจง

รายงานวิจัยประจำปี 2539 เล่ม 2 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 649-657. (344 หน้า)

2539

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์และประเมินคุณสมบัติเมล็ดทางเคมีและการหุงต้มข้าวบาสมาติจากโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์ และกระจายพันธุ์

จากการวิเคราะห์เมล็ดข้าวพันธุ์บาสมาติ ในโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์ และกระจายพันธุ์

ที่ปลูกในฤดูนาปี ตั้งแต่ปี 2535-2539 นั้นเป็นข้าวที่ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี จำนวน

21 พันธุ์ จากศูนย์วิจัยข้าวและสถานีทดลองข้าวต่าง ๆ จำนวน 8-9 แหล่งปลูก แต่ในฤดูนาปี 2539

ทำการทดลอง 5 แหล่งปลูก คือ ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปทุมธานี สถานีทดลองข้าวชัยนาท สุรินทร์

และสุพรรณบุรี พบวย่า ข้าวเกือบทุกพันธุ์ยังคงแสดงคุณภาพเมล็ดทางเคมีและข้าวสุกตามลักษณะ

ของข้าวบาสมาติ คือเป็นข้าวอมิโลสปานกลาง ความคงตัวแป้งสุกแข็ง - ปานกลาง และอุณหภูมิแป้ง

สุกของข้าวอยู่ในประเภทปานกลาง-ต่ำ เมล็ดข้าวสุกมีการยืดตัวดีทุกพันธุ์มีกลิ่นหอม สำหรับข้าวที่

ปลูกในแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์จำนวตน 8 พันธุ์ จากแหล่งปลูกต่าง ๆ จำนวน 13-21

แหล่งปลูก แต่ในฤดูนาปี 2539 ทำการปลูก 9 แหล่งปลูก ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

และภาคกลาง ซึ่งพบว่าข้าวมีคุณภาพเมล็ดใกล้เคียงกันตามลักษณะของข้าวบาสมาติ คือมีอมิโลส

ปานกลาง ความคงตัวแป้งสุกประเภทแข็ง-ปานกลางและอุณภูมิแป้งสุกปานกลาง-ต่ำ  มีการยืดตัว

ดีแต่มีข้าวพันธุ์ IET12011 ทั้งจากแปลงเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี และในนาราษฎร์มี

อมิโลสต่ำ ความคงตัวแป้งสุกอ่อน และอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ แต่ยังคงมีการยืดตัวของเมล็ดข้าวสุกดี

และมีกลิ่นหอม  ส่วนการวิเคราะห์ข้าวญี่ปุ่นในโครงการวิจัยพันธุ์ รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์

ที่ปลูกในฤดูนาปรัง ปี 2536-2539 เป็นข้าวที่ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในสถานีจำนวน 10 พันธุ์

จาก 4 แหล่งปลูก คือ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร พิษณุโลก สถานีทดลองข้าวและธัญพืชเมืองหยนาว

หนองคาย และสถานีทดลองข้าวชัยนาท พบว่าข้าวญี่ปุ่นทุกพันธุ์มีอมิโลสต่ำ ความคงตัวแป้งสุก

อ่อนอุณหภูมิแป้งสุกปานกลาง-ต่ำ และระยะเวลาในการหุงต้ม 17-23 นาที สำหรับข้าวญี่ปุ่นที่

ปลูกในแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ จำนวน 7 แปลง ในจังหวัด สกลนคร เชียงราย

เชียงใหม่ ลำพูน พิษณุโลก และชัยนาท จำนวน 10 พันธุ์ พบว่าข้าวญี่ปุ่นต่างมีคุณสมบัติเมล็ด

เช่นเดียวกับที่ปลูกในสถานีทดลอง