การผลิตกระดาษหัตถกรรมจากปอ
แฉล้ม มาศวรรณา เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์ ทองปูน เพ่งหากิจ ธนิต โสภโณดร และ ไชยยศ เพชระบูณิน
รายงานผลงานวิจัยปี 2539 (เล่ม 2) ปอ ถั่วมะแฮะ และพืชไร่อื่นๆ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ขอนแก่น. 267 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาความแตกต่างของชนิดพืชในการทำกระดาษแบบหัตถกรรมในปี 2539
ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นและศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ โดยศึกษาเปลือกพืช 5 ชนิด คือปอแก้ว
ปอคิวบา ป่านรามีปอสา และปอกระเจา วางแผนการทดลองแบบ Completely
Randomised Design จำนวน 3 ซ้ำ ทำการเตรียมเยื่อกระดาษจากเปลือกพืชดังกล่าว
โดยการต้มด้วยโซดาไฟเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ และฟอกด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น
10 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำไปทำแผ่นกระดาษโดยวิธีการทำกระดาษสา ผลการทดลองพบว่า
เปลือกของพืชทั้ง 5 ชนิด สามารถทำกระดาษแบบหัตถกรรมได้ดีมีความแตกต่างของ
คุณภาพกระดาษและปริมาณเพื่อกระดาษที่ผ่านจากการเตรียมเยื่อแตกต่างกันตามชนิดพืช
โดยปอแก้ว ปอคิวบาป่านรามี ปอสา และปอกระเจาให้เปอร์เซ็นต์เยื่อแห้งจำนวน 43, 34,
36 และ 47 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จะเห็นว่าปอกระเจาเป็นพืชที่ให้เยื่อกระดาษแห้งสูงสุด
รองลงไปคือ ปอแก้ว ปอสา ตามลำดับ โครงสร้างของกระดาษ ซึ่งไม่ฟอกสีและผ่านการ
เตรียมเยื่อโดยใช้เครื่องตี มีความแตกต่างกัน โดยปอแก้ว ปอคิวบา ป่านรามีและปอกระเจา
เป็นแผ่นกระดาษได้แต่จับตัวกันหลวม ๆ เห็นเป็นเส้น ๆ ของเยื่อกระดาษได้ชัดเจนให้
ลวดลายของกระดาษสวยงาม เหมาะสำหรับการใช้ประโยชน์ในงานศิลปะ แต่ไม่เหมาะสม
ในการเขียนแต่การตีเยื่อด้วยมือกระดาษที่ได้จะมีการจับตัวกันแน่นดีกว่าเยื่อที่ตีโดยเครื่องตี
ส่วนกระดาษปอสาที่ผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกัน โครงสร้างของกระดาษจะมีการจับตัวกันแน่น
มีผิวกระดาษที่ละเอียดกว่าพืชอีก 4 ชนิด เหมาะในงานศิลปะและการเขียน ส่วนกระดาษที่
ผ่านการฟอกขาว จะได้กระดาษที่มีโครงสร้างของเยื่อจับตัวกันแน่นทั้ง 5 ชนิด แต่มีความ
เหนียวและความขาวของกระดาษต่างกัน สามารถใช้ในงานพิมพ์เขียนได้กระดาษปอสาจะมี
ความขาวและความเหนียวสูงที่สุด ส่วนปอทั้ง 4 ชนิดให้ความขาวไม่ต่างกัน ความเหนียว
ของกระดาษสากับกระดาษรามี จะมีความเหนียวใกล้เคียงกันและเหนียวกว่าปกติทั้ง 3 ชนิด
ผลจากการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเปลือกพืชทั้ง 5 ชนิด สามารถทำกระดาษหัตถกรรมได้
และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้การจับตัวของเยื่อกระดาษของพืชแต่ละชนิด
แตกต่างกัน ชนิดและความเข้มข้นที่เหมาะสมของฟอกขาวด้วย