การทดสอบคุณภาพทางกายภาพของสายพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำและข้าวทนน้ำลึก
จารุวรรณ บางแวก นิวัติ เจริญศิลป์ และ ประโยชน์ เจริญธรรม
รายงานผลการวิจัยข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ประจำปี 2539 ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 192.
2539
บทคัดย่อ
หลักเกณฑ์การออกพันธุ์ข้าวให้เป็นข้าวพันธุ์แนะนำหรือพันธุ์รับรองนั้น จะต้องผ่าน
มาตรฐานคุณภาพทางกายภาพของเมล็ดด้วย นอกจากจะคำนึงถึงผลผลิต ความทนทาน
ต่อโรคและแมลงแล้ว เพราะคุณภาพข้าวที่จะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จะต้องดูที่ลักษณะ
ทางกายภาพของเมล็ดด้วย ซึ่งลักษณะนี้จะส่งผลต่อราคาข้าวที่เกษตรกรจะได้รับ ดังนั้น
พันธุ์/สายพันธุ์ข้าวที่อยู่ในระยะการทดสอบผลผลิตภายใน ระหว่างสถานี หรือในนาราษฎร์
ต้องนำเมล็ดเข้าวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เช่น ขนาดเมล็ด (ความยาว กว้าง และหนา)
รูปร่างเมล็ด สีเปลือก ลักษณะความเป็นท้องไข่ จากการวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพของ
เมล็ดข้าวพันธุ์/สายพันธุ์ ข้าวขึ้นน้ำ และข้าวทนน้ำลึก ในช่วงปี 2535-40 พบว่า ข้าวขึ้นน้ำ
ส่วนใหญ่ เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาว(slender) ความยาวเมล็ดมากกว่า 7 มม. ส่วนใหญ่สี
เปลือกมีสีฟาง แต่เมล็ดจะมีความเป็นท้องไข่อยู่บ้าง (ประมาณระดับ 1-2) น้อยมากที่เมล็ด
จะใส ทั้งยังมีคุณภาพการขัดสีต่ำ ด้วยเหตุนี้ต้องทำการศึกษาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ
และข้าวทนน้ำลึก โดยเน้นถึงคุณภาพความใส และคุณภาพการขัดสีของเมล็ดเป็นสำคัญ