การตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพและคุณภาพการขัดสีของเมล็ดข้าวนาสวนในโครงการปรับปรุงพันธุ์ ในเขตศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี (ระยะที่ 3)
ระพีพัฒน์ จิระวงศ์วิโรจน์ ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ สมพร เศรษฐวิพัฒนชัย และ รานี เมตตาจิตร
รายงานการวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
ประเทศไทยนอกจากจะผลิตข้าวเพื่อการบริโรคของคนภายในประเทศแล้ว ยังผลิ่ตเพื่อการค้า
ส่งออกให้กับตลาดโลกเป็นรายใหญ่ที่ครองความเป็นหนึ่งมาช้านาน แต่ในสภาวะการปัจจุบันได้มี
ประเทศผู้ผลิตเพื่อการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ต้นทนและปัจจัยที่
ส่งเสริมการผลิตของแต่ละประเทศผู้ผลิตต่าง ๆ ก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นข้อ
ได้เปรียบประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ ก็คือเราสามารถผลิตข้าวคุณภาพที่เป็นที่นิยมและต้องการของตลาด
ซึ่งทำให้สามารถขายได้ในราคาดี และนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก การพัฒนาพันธุ์ข้าว
ของนักปรับปรุงพันธุ์จึงมุ่งเน้นในด้านของคุณภาพเมล็ดเป็นหลัก โดยมีลักษณะดีด้านต่างๆ ควบคู่
ไปด้วย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
ถึงปัจจุบัน ดังนั้น งานตรวจสอบคุณภาพเมล็ดทางกายภาพและการขัดสีจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะได้ทราบลักษณะทางกายภาพของ
เมล็ดพันธุ์/สายพันธุ์ใหม่ๆที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะได้ใช้เป็น่ข้อมูลในการสนับสนุนและพิจารณาคัด
่เลือกหาพันธุ์/สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพิจารณา
คัดเลือกหาพันธุ์/สายพันธุ์ดีเด่นที่มีลักษณะของเมล็ดที่มีคุณภาพทางกายภาพและการขัดสีที่ดี
เป็นที่นิยมและต้องการของตลาดต่อไปและยังเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาปรับปรุง
พันธุ์บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการวิธีที่ดำเนินการสิ่งที่ใช้ในการทดลอง 1. ใช้เมล็ดข้าวนาสวน
ไวแสงและไม่ไวแสงที่ปลูกในเขตศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีและสถานีทดลองเครือข่าย จากแปลง
เปรียบเทียบผลผลิตในสถานี-ระหว่างสถานีและในนาราษฎร์ ตัวอย่างละประมาณ 300 กรัม
2. เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ใวนการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดในห้องปฏิบัติการของ
กลุ่มวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี วิธีปฏิบัติการทดลอง นำแต่ละตัว
อย่างที่จะทำการตรวจสอบ (ประมาณ 300 กรัม) มาเข้าเครื่องเป่าทำความสะอาด แล้วนำ
ไปวัดหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ดที่น้ำหนัก 250 กรัม จากนั้นจึงชั่งแบ่งออกเป้น 2 ส่วน
ส่วนละ 125 กรัม แล้วทำการตรวจสอบคุณภาพ