บทคัดย่องานวิจัย

การใช้หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa) ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว

ไพฑูรย์ อุไรรงค์ กิติยา กิจควรดี ยุวดา เกิดโกมุติ ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต กัมปนาท มุขดี และ ประสูติ สิทธิสรวง

รายงานวิจัยประจำปี 2539 เล่ม 2 ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 754-758. 344 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

การใช้หนอนตายหยาก (Stemona tuberosa) ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว

การศึกษาการใช้ส่วนรากของต้นหนอนตายหยาก ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บมี

วัตถุประสงค์ เพื่อนำส่วนรากของต้นหนอนตายหยากมาใช้แทนการใช้สารเคมีฆ่าแมลง โดย

ทดสอบความเป็นพิษและประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บกับแมลงที่

สำคัญ 2 ชนิด คือ มอดหัวป้อม (Phyxopertha deminica F.) และด้วงงวง (Sitophilus

spp.) ทดลองในห้องปฏิบัติการ สถานีทดลองข้าวบางเขน  ผลการทดสอบความเป็นพิษและ

ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงในห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากรากของต้นหนอน

ตายหยากมีพิษต่อมอดหัวป้อม ยิ่งระดับความเข้มข้นสูงยิ่งมีผลทำให้มอดหัวป้อมตายเร็วและ

มากขึ้น เมื่อครบ 30 วัน ที่ระดับความเข้มข้น 1,  2 และ 3 มล./ข้าวกล้อง 200 กรัม มีมอด

หัวป้อมตายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 28,  46 และ 81% ตามลำดับ สำหรับด้วงงวงข้าว

พบว่าสารสกัดจากรากหนอนตายหยากในอัตราและความเข้มข้นดังกล่าวมีความเป็นพิษต่อ

ด้วงงวงน้อยมาก เมื่อครบ 30 วัน ที่ความเข้มข้น 1,  2 และ 3 มล./ข้าวกล้อง 200 กรัม

มีด้วงงวงตายคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 2,  1 และ 2% แสดงว่าที่ระดับความเข้มข้นเท่า

กันสารสกัดจากรากต้นหนอนตายหยากจะมีความเป็นพิษต่อมอดหัวป้อมมากกว่าด้วงงวง

แต่ความเป็นพิษต่อแมลงศัตรูในโรงเก็บทั้งสองตัวต่ำ โดยเฉพาะด้วงงวงยังไม่เหมาะสม

ที่จะนำมาใช้ป้องกันแมลงในโรงเก็บ