การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโคชิ ฮิการิ ในภาชนะบรรจุชนิดต่างๆ ที่เก็บรักษาไว้ในสภาพปกติ (ระยะที่ 1)
นิพนธ์ มาฆทาน ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต ยุวดา เกิดโกมุติ กัมปนาท มุขดี ไพฑูรย์ อุไรรงค์ และ กิติยา กิจควรดี
รายงานวิจัยประจำปี 2539 สถาบันวิจัยข้าว ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมวิชาการเกษตร
2539
บทคัดย่อ
เพื่อหาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาคุณภาพ
ของเมล็ดพันธุ์ในขณะเก็บรักษาได้นานที่สุด โดยมีเป้าหมายได้วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
ข้าวญี่ปุ่นที่เหมาะสม เพราะในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาในการเก็บรักษาเมล็ด
พันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพดี เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ส่วนใหญ่จะมีการเสื่อมคุณภาพเร็ว ทำให้มี
อายุการเก็บรักษาสั้น และยังถูกแมลงศัตรูในโรงเก็บข้าวทำลายเสียหายเนื่องจากสภาพ
ภูมิอากาศประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น และโรงเก้บเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ทั่วประเทศ
เป็นโรงเก็บสภาพปกติ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ทางอากาศ สำหรับ
เมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นยิ่งมีปัญหาในการเก็บรักษาเนื่องจากจะเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าข้าวไทย
จากการศึกษาพบว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นจะมีอายุการเก็บรักษาหลังสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวค่อน
ข้างสั้นประมาณเพียง 3-4 เดือน ความงอกก็จะลดต่ำกว่า 80% ไม่สามารถใช้เป็นเมล็ด
พันธุ์ได้ ดังนั้นการศึกษาหาวิธีการเก็บรักษาข้าวญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง เสียค่าใช้จ่าย
ต่ำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกาาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว วิธีการดำเนินงาน ทดลองที่
ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี โดยปลูกข้าวญี่ปุ่นพันธุ์โคชิฮิการิและเก็บเกี่ยว ที่ระยะสุกแก่เหมาะ
สม 30 วัน หลังข้าวออกดอก 80% ทำการนวดทันทีและความสะอาดลดความชื้นโดย
การตากลาน ให้ความชื้นลดต่ำเหลือประมาณ 9-10% นำไปบรรจุในภาชนะชนิดต่าง ๆ
5 ชนิด คือ กระสอบป่าน ถุงผ้าดิบ ถึงพลาสติกหนา 2 ชั้น ถุงพลาสติกดำบรรจุซ้อนใน
ถุงพลาสติกสานและปีปสังกะสีมีผาปิดผนึกด้วยขี้ผึ้ง นำไปเก็บรักษาไว้ในโรงเก็บเมล็ด
พันธุ์ปกติ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศทุก ๆ เดือนสุ่ม
ตัวอย่างเมล็ดในแต่ละภาชนะบรรจุ นำไปทดสอบความงอกและการทำลายของแมลง
ศัตรูโรงเก็บจนกว่าความงอกของเมล็ดจะลดต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์