อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยทางใบต่อผลผลิตและคุณภาพเส้นใยของฝ้าย
วีรวัฒน์ นิลรัตนคุณ บุญยืน ชิดชอบ เจริญศรี สร้อยทอง และ บังอร ธารพล
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2540 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
2540
บทคัดย่อ
ได้ทำการศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยทางใบต่อผลผลิตและคุณภาพเส้นใย โดยวางแผน
การทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีคือ 1.ไม่ใช้ปุ๋ย 2.ปุ๋ยน้ำสูตร
12 - 5 - 5 + ธาตุรอง อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 3. ปุ๋ยน้ำสูตร 12-11-5 + ธาตุรอง
อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และ 4. ปุ๋ยเกร็ดสูตร 13-6-46 อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ทำการปลูกฝ้ายในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ระยะปลูก 1.25 x 0.50 ม. เมื่อฝ้ายอายุ 1 เดือน
ถอนแยกเหลือ 1 ต้น และใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก./ไร่ เริ่มพ่นปุ๋ยทางใบ
เมื่อฝ้ายติดบี้ โดยผสมกับสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและสารเสริมประสิทธิภาพ และพ่นต่อเนื่อง
ทุกสัปดาห์ จนสมอฝ้ายแตกหมดต้น ทำการเก็บเกี่ยวฝ้ายไปหาผลผลิต เปอร์เซ็นต์หีบ และ
คุณภาพเส้นใย ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยสูตร 12-11-5 ให้ผลผลิตสูงสุด 539 กก./ไร่
แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีอื่น ในส่วนของเปอร์เซ็นต์หีบ ความยาว ความสม่ำเสมอ
และความเหนียวของเส้นใยจากแต่ละกรรมวิธี พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ คือมีค่าโดย
เฉลี่ย 39.02 % 1.11 นิ้ว 49.0 % และ 20.3 กรัม/เท็กซ์ ตามลำดับ ยกเว้นความละเอียด
อ่อนของเส้นใยที่กรรมวิธีไม่ใช้ปุ๋ย และใช้ปุ๋ยสูตร 13-0-46 ซึ่งมีค่าเท่ากันคือ 5.0 ในด้าน
คุณภาพเส้นใยที่เก็บเกี่ยวในรุ่นต่าง ๆ พบว่าความยาว ความละเอียดอ่อน และความเหนียว
มีค่าแตกต่างกัน กล่าวคือ ความยาวของฝ้ายสมอต้น (1.15 นิ้ว) สมอกลาง (1.12 นิ้ว) และ
สมอปลาย (1.08นิ้ว) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนความเหนียว
พบว่าความเหนียวของฝ้ายสมอต้น (20.91 กรัม/เท็กซ์) และสมอกลาง (20.69 กรัม/เท็กซ์)
มีความเหนียวมากกว่าสมอปลาย (19.40 กรัม/เท็กซ์) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ทางด้าน
ความละเอียดอ่อนนั้น พบว่า ฝ้ายสมอลายมีค่าความละเอียดอ่อน 4.7 ซึ่งดีกว่าสมอต้น (5.04)
และสมอกลาง (4.91) อย่างมีนัยสำคัยยิ่งทางสถิติ