ศึกษาและคัดพันธุ์เบญจมาศจากต่างประเทศ
สุปัน ไม้ดัดจันทร์ วิภาดา ทองทักษิณ วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ อัญชัญ มั่นแก้ว และ บุญแถม ถาคำฟู
รายงานผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.
2540
บทคัดย่อ
วิธีดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกด้านการผลิต และผลผลิต
ปลูกกิ่งชำเบญจมาศในแปลงขนาด 1x21 เมตร แปลงย่อย 1x3เมตร ระยะปลุก 15x15 ซม.
ให้แสงไฟในช่วงวันปลูกในช่วงกลางคืนตั้งแต่เวลา 22.00-01.00 น. ทุกวันและหยุดให้ไฟ
เมื่อต้นเบญจมาศสูง 40 ซม. หลังปลูก 7 วัน เด็ดยอดเบญจมาศเพื่อให้แตกแขนงข้างและเลี้ยงไว้
3 แขนงต่อต้น ใช้ตาข่ายใช้ตาข่ายไนลอน ขึงเหนือแปลงปลูก 2 ชั้น เพื่อพยุงลำต้นให้ตั้งตรง
และพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 50 %เมื่อเริ่มเห็นสีดอก รดน้ำทุกวัน กำจัดวัชพืช และ
พ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น
ขั้นตอนที่ 2 ประเมินคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว อายุการปักแจกัน และทดสอบความนิยม
ของตลาด
งานที่จะดำเนินกาารต่อไป
ทำการเก็บข้อมูลดังนี้คือ วันที่หยุดให้ไฟ จำนวนวันที่เกิดวันสั้น ถึงวันเกิดตุ่มดอก
จำนวนวันที่ได้รับวันสั้นถึงวันตัดดอก ความสูงเมื่อหยุดให้ไฟ ความสูงเมื่อวันตัดดอก
ขนาดดอก สีดอก ขนาดก้านดอกอายุการปักแจกัน ความแข็งแรงและการเจริญเติบโต
การเข้าทำลายของโรคและแมลง ลักษณะผิดปกติอื่นๆและทดสอบความนิยมของตลาด