ผลการแคลเซียมคลอไรด์ต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารฟีนอลในเห็ดกระดุมระยะต่าง ๆ และหลังการเก็บเกี่ยว
วลัยภรณ์ ภัสสรศิริ นันทรัตน์ ศุภกำเนิด นันทินี ศรีจุมปา อัญชัญ มั่นแก้ว และ โสภา หวั่นเส้ง
รายงานผลงานวิจัย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงราย.
2540
บทคัดย่อ
การใช้สาร CaCl2 4 ระดับความเข้มข้นคือ 0 ppm (พ่นน้ำ) 1,000, 3,000 และ
5,000 ppm พ่นเห็ดกระดุมเมื่อเริ่มเจริญเป็นตุ่มแล็ก ๆ ทุกวัน วันละครั้ง ณ ศูนย์วิจัยพืชสวน
เชียงราย เมื่อเดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกันยายน 2539 พบว่าปริมาณสารฟีนอลหลังเก็บเกี่ยว
ในเห็ดที่พ่นสาร CaCl2 ทั้ง 4 ระดับความเข้มข้น มีค่าใกล้เคียงกันในแต่ละระยะการเจริญ
เติบโตของเห็ดที่การศึกษา (ระยะ 1-4) และพบว่าปริมาณสารฟีนอลในเห็ดระยะที่ 1
(ระยะก่อนเก็บเกี่ยว) และระยะที่ 2 (ระยะเก็บเกี่ยว) มีค่าใกล้เคียงกันและมีปริมาณต่ำสุด ส่วนใน
ระยะที่ 3 (ระยะเริ่มบาน) และระยะที่ 4 (ระยะบานมาก - บานเต็มที่) มีปริมาณสารฟีนนอลใกล้
เคียงกันและมีปริมาณสูงสุด สำหรับการเก็บรักษาเห็ดที่พ่นสาร CaCl2 ทั้ง 4 ระดับความ
เข้มข้นที่อุณหภูมิห้องนาน 0 - 3 วัน ที่อุณหภูมิ 10 C และ 4 C นาน 3-9 วัน ก็ไม่พบความ
แตกต่างของปริมาณสารฟีนอลในเห็ดในอุณหภูมิและระยะเวลาที่เก็บรักษา การเก็บรักษาเห็ด
ที่อุณหภูมิห้องมีแนวโน้มว่าเห็ดที่พ่นสาร CaCl2 ความเข้มข้น 3000 และ 5,000 pmm
มีคุณภาพดีกว่าเห็ดที่พ่นสาร CaCl2 มีความเข้มข้น 0 และ 1,000 pmm โดยมีอายุการเก็บ
รักษานาน 2 วัน ส่วนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำพบว่า การไม่สาร CaCl2 เห็ดมีอายุการเก็บ
รักษานาน 4 และ 8 วัน ที่อุณหภูมิ 10C และ 4C ตามลำดับ ส่วนการพ่นสาร CaCl2 ความ
เข้มข้น 1,000-5,000 pmm เห็ดมีอายุการเก็บเกี่ยวรักษาและคุณภาพใกล้เคียงกัน คือ มีอายุ
การเก็บรักษานาน 6 และ 9 วัน ที่อุณหภูมิเก็บรักษา 10 C และ 4 C ตามลำดับ