บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเนื้อในมะคาเดเมีย

อุทัย นพคุณวงศ์ จำรอง ดาวเรือง เหรียญชัย เกิดพงษ์ จันทร์เพ็ญ แสนพรหม และอรวรรณ หวังดีธรรม

รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2541-2542 ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่. 333 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

การศึกษาวิธีการและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเนื้อในมะคาเดเมีย

การทดลองบรรจุเนื้อในดิบในถุงพลาสติกที่อัดแบบ  laminate  โดยชั้นนอกเป็น 

Nylon film หนา 15 ไมครอน  ชั้นในเป็น  Polyethylene หนา 70 ไมครอน  เก็บ

ทั้งในรูปสูญญากาศที่ความดัน - 90 Kpa  และไม่ใช่สูญญากาศ  เก็บรักษาในอุณหภูมิ

ต่างกัน  เพื่อศึกษาหาวิธีการบรรจุและระยะเวลาที่เหมาะสมในการรักษาเนื้อในมะคาเดเมีย

ให้ได้นาน และคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง  วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 ซ้ำ 6 กรรมวิธี

คือ 1. บรรจุถุงพลาสติกเก็บอุณหภูมิห้อง  2. บรรจุถุงพลาสติกเก็บที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส 

3. บรรจุถุงพลาสติกเก็บที่อุณหภูมิ  10 องศาเซลเซียส  4. บรรจุถุงพลาสติกแบบสูญญากาศ

เก็บที่อุณหภูมิห้อง 5. บรรจุถุงพลาสติกแบบสูญญากาศเก็บที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส 

6. บรรจุถุงพลาสติกแบบสูญญากาศเก็บเกี่ยวที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส  ใช้เมล็ดเนื้อในดิบ

มะคาเดเมียพันธุ์แนะนำ  พันธุ์เชียงใหม่  400 (HAES 660)  และพันธุ์เชียงใหม่  700

(HAES 741)  หลังอบและกะเทาะกะลาออกเหลือเนื้อในซึ่งมีความชื้น 3 เปอร์เซ็นต์ 

บรรจุถุงพลาสติกและเก็บรักษา ตามกรรมวิธี  นำเมล็ดเนื้อในออกตรวจสอบ ปริมาณ

องค์ประกอบ  ไขมัน และน้ำมัน ตรวจสอบกลิ่นหรือความเหม็นหืน  ปริมาณเปอร์ออกไซด์

สี  และรสชาติหลังอบสุก  โดยใช้ประสาทสัมผัสของอาสาสมัคร  จากการทดลองพบว่า 

วิธีการบรรจุถุงพลาสติกปกติเก็บอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส  และบรรจุถุงพลาสติกแบบ

สุญญากาศเก็บที่อุณหภูมิ 5 และ 10 องศาเซลเซียส  เป็นวิธีที่ดีที่สุดสามารถเก็บไว้ได้

นานถึง 12 เดือน  โดยคุณภาพของเนื้อในหลังอบสุกยังไม่เปลี่ยนแปลง  รองลงมาคือ 

การบรรจุถุงพลาสติกปกติเก็บที่อุณหภูมิ  10  องศาเซลเซียส  ช่วงเก็บนาน 10 เดือน 

คุณภาพด้าน กลิ่น  สี  และรสชาติยังคงสภาพที่ดี  ส่วนวิธีการบรรจุพลาสติกทั้งแบบ

สูญญากาศและไม่ใช่สุญญากาศ เก็บที่อุณหภูมิห้อง คุณภาพจะเสื่อมเร็วภายใน 4-6 เดือน

เท่านั้น