การศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการเก็บรักษาเมล็ดมะคาเดเมีย
ถนอม ไชยปัญญา อุทัย นพคุณวงศ์ และ จำรอง ดาวเรือง
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2541-2542 ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เชียงใหม่. 333 หน้า.
2544
บทคัดย่อ
มะคาเดเมียที่ปลูกในประเทศไทยส่วนใหญ่ปลูกในสภาพบนพื้นที่สูง
มีพื้นที่ลาดชัน ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน
แต่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวสูงสุดคือช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคมซึ่งจะมีปริมาณ
ผลผลิตมาก ในการเก็บรักษาเมล็ด เพื่อรอการกะเทาะกะลาก่อนนำไปแปรรูป
ที่จะไม่ทำให้คุณภาพเนื้อในเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากผลมะคาเดเมียสดที่ร่วง
ซึ่งยังมีเปลือกนอกสีเขียว มีความชื้นสูงถึง 45 %และเนื้อในมีความชื้น
23 - 25 % ซึ่งจะต้องมีการกะเทาะเปลือกนอกออก และนำเข้าอบเมล็ด
ทั้งกะลา ให้เนื้อในเหลือความชื้นประมาณ 1.5 % จะสามารถเก็บเมล็ด
ไว้ได้นานถึง 12 เดือน แต่ในสภาพการปลูกมะคาเดเมียในประเทศไทยอยู่
ในพื้นที่สูง ห่างไกลจากโรงงานแปรรูป จึงต้องหาวิธีการเก็บเมล็ดแบบ
ประหยัดและเหมาะสมระหว่างรอการกะเทาะ โดยดำเนินการทดลองที่
สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง และห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยเกษตร
หลวงเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Randomized Block
Design มี 7 ซ้ำ 3 กรรมวิธีคือ
1. บรรจุถุงตาข่ายไนล่อนแขวน
2. วางบนชั้นไม้ไผ่ ( เกลี่ยหนาประมาณ 10 เซนติเมตร )
3. นำเข้าตู้อบทันทีลดความชื้นเหลือ 1 - 15 เปอร์เซ็นต์ แล้วเก็บในถุงพลาสติกปิดปาก
นำเมล็ดแต่ละกรรมวิธีหาเปอร์เซ็นต์ความชื้นทุก 3 วัน จนกระทั่งความชื้นคงที่และนำ
เมล็ดตรวจสอบคุณภาพทุก 3 วัน จนกระทั่งความชื้นคงที่ และนำเมล็ดตรวจสอบคุณภาพ
ทุกสัปดาห์ โดยการอบแห้งอุณหภูมิ 41 องศาเซลเซียส นาน 3 วัน และ 51 องศาเซลเซียส
นาน3 วัน แล้วกะเทาะกะลาและวิเคราะห์คุณภาพเนื้อใน เริ่มดำเนินการเดือนสิงหาคม
2540 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการทดลอง