การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวบางประการที่มีผลต่อการสะสมไนเตรทในผลสับปะรด
สมพร เหรียญรุ่งเรือง สุภาพร ชุมพงษ์ สมเกียรติ นวลละออง สมบัติ ตงเต๊า และ ศศิธร วสุนันท์
รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2539-2540 ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 382 หน้า
2541
บทคัดย่อ
ดำเนินการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธีคือ
1. เก็บรวบรวมผลส่งวิเคราะห์ตามปกติ
2. เก็บผลยังไม่ตัดจุกรวบรวมไว้ในที่ร่มทิ้งไว้ 1 คืน
3. เก็บผลตัดจุกรวบรวมในที่ร่มทิ้งไว้ 1 คืน
4. ปฏิบัติเหมือนวิธีที่ 2 และพ่นน้ำให้เปียกชุ่มทั่วทั้งผล
5. ปฏิบัติเหมือนวิธีที่ 2 และพ่นน้ำให้เปียกชุ่มทั่วทั้งผล
6. ปฏิบัติเหมือนวิธีที่ 2 แต่ใช้ผ้าพลาสติกคลุมและใช้ CaC2 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนส่งโรงงาน
7. ปฏิบัติเหมือนวิธีที่ 3 แต่ใช้ผ้าพลาสติกคลุมและใช้ CaC2 เร่งให้เกิด การเปลี่ยนแปลง
อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และปล่อยทิ้งไว้ในบรรยากาศปกติ 12 ชั่วโมง ก่อนส่งโรงงาน
ได้ดำเนินการทดลองโดยปลูกสับปะรดปัตตาเวียในพื้นที่ 12 ไร่ แบบแถวคู่ระยะปลูก
0.25x0.50x1 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 30 กรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง
เมื่อสับปะรด อายุ 3 เดือนและ 6 เดือน หลังปลูกและบังคับดอกหลังปลูก 9 เดือน
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมาปฏิบัติตามกรรมวิธีที่กำหนดต่อไป