การปรับปรุงเครื่องกะเทาะเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว
สมนึก สุวรรณประดิษฐ์
โครงการวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2531. 33 หน้า
2531
บทคัดย่อ
เนื่องจากเครื่องกะเทาะเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวเดิมที่ได้ออกแบบและสร้างขึ้น
มานั้นได้รับความสนใจมากจาก ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่จะเก็บไว้ใช้หรือจำหน่าย
แต่
เครื่องกะเทาะเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวเดิมยังมีความสามารถในการทำงานไม่พอเพียง
ต่อความต้องการจึงได้สร้างระบบคัดแยกเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการกะเทาะกับเปลือกออก
จากกันโดยอาศัยระบบตะแกรงโยกที่มีขนาดรูตะแกรงที่เหมาะสม ซึ่งสามารถทำงาน
พร้อมกับการกะเทาะได้เลยในเครื่องเดียวกัน อีกทั้งในการสร้างชุดกะเทาะได้มีการ
ปรับปรุงแผ่นยางบนแผ่นจานทั้งสองเป็นการใช้แผ่นยาง (ยางปะเก็น) แผ่นเดียวใน
แต่ละจานเพื่อความสะดวกในการทำงาน ความทนทาน และทำให้เครื่องกะเทาะเมล็ด
พันธุ์ถั่วเขียวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดอื่น ๆ ต่อไปได้อีก
โดยราคาในการสร้างไม่รวมมอเตอร์และค่าแรงของทั้งเครื่องมูลค่าประมาณ
1,900 บาท
จากการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกะเทาะเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ผลปรากฏว่าให้
ประสิทธิภาพที่สูงถึง 82.8% ที่ความเร็วรอบ 300 รอบ/นาที ระยะห่างระหว่างแผ่น
ยาง 6 มม. ความสามารถในการกะเทาะ
87.66 กก./ชม. และประสิทธิภาพการ
คัดแยก 99.17% สำหรับถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 1
ส่วนพันธุ์ถั่วเขียวกำแพงแสน 2
ได้ประสิทธิภาพการกะเทาะ 60.20%
ที่ความเร็วรอบ 250 รอบ/นาที
ระยะห่างระหว่าง
แผ่นยาง 6 มม. ความสามารถในการกะเทาะ
63.72 กก./ชม. และประสิทธิภาพการ
คัดแยก 99.40% โดยมีความเร็วรอบของตะแกรงแยก 150
รอบ/นาที มุมเอียงของ
ตะแกรง 9 องศาเท่ากัน