การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของตะแกรงร่อนข้าวแบบ Curvilinear Translation
สมเดช เสร็จกิจ และ ทิมาพร น้ำจันทร์
โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534. 33 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
· การทำงานของตะแกรงร่อนข้าวแบบ Curvilinear Translation นี้ใช้หลักการ เคลื่อนที่แบบ Curvilinear Translation โดยหมุนตะแกรงที่มีข้าวเปลือกบรรจุอยู่บน ตะแกรง ข้าวเปลือกจะร่วงลงมาจากรูตะแกรงตามแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงเหวี่ยงที่ เกิดจากการหมุนของตะแกรง สิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่ใหญ่กว่ารูตะแกรง เช่น เศษฟาง เศษหญ้า จะเหลือค้างอยู่บนตะแกรงและมีข้าวเปลือกและสิ่งเจือปนที่รอดรูตะแกรงออกมาได้ อาจจะ ใช้พัดลมเป่าให้เศษฝุ่นละออง แกลบ ที่เบากว่าเมล็ดข้าวเปลือกปลิวไปตามแรงลม ส่วนเมล็ด ข้าวเปลือกที่มีน้ำหนักมากกว่าจะตกอยู่บนภาชนะที่รองรับ
· จากผลการทดสอบพบว่า ระยะช่วงชัก ที่มีความยาว 13.5 cm. เป็นระยะที่มีความ เหมาะสมมากที่สุด จำนวนข้าวที่ใช้ร่อนควรใช้ครั้งละ 6 kg. จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน สูงสุดโดยมี capacity 392.7 kg./hr ใช้แรงเริ่มหมุนเพียง 5.17 นิวตัน เปอร์เซ็นต์ การทำความสะอาดหลังการร่อน 92.9% ส่วนประสิทธิภาพการคัดแยกสิ่งเจือปน 27.14% และเมื่อใช้ลมเป่าด้วยความเร็ว 2.5 m/s จะมีเปอร์เซ็นต์การทำความสะอาดเมื่อมีลมเป่า 96.6% ส่วนประสิทธิภาพการคัดแยกสิ่งเจือปน 63.4% โดยใช้ตะแกรงไม้ไผ่มีขนาดรูโดยเฉลี่ย 0.7x0.7 cm. จำนวน 3.24 ช่อง/ตร.นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางของตะแกรง 95.5 cm.
· ส่วนการทดสอบการใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือ โดยใช้ตะแกรงไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 cm. ขนาดรูโดยเฉลี่ย 0.6x0.7 cm. จำนวน 3.24 ช่อง/ตร.นิ้ว ในการเทข้าวครั้งละ 3 kg. จะทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดโดยมี capacity 396.23kg/hr เปอร์เซ็นต์ ความสะอาดหลังการร่อนด้วยมือ 93.96% ประสิทธิภาพการคัดแยกสิ่งเจือปน 68.13%