การทดสอบและประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเครื่องกะเทาะข้าวโพดความชื้นสูง
พิทยา สงฆ์รักษ์ ภูวนิต อัคคะสาระกุล และ เอี่ยมเส็ง เวียนศิริ
โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน), 2535. 43 หน้า
2535
บทคัดย่อ
· เครื่องกะเทาะข้าวโพดแบบก้านตีชนิดลูกกะเทาะโปร่ง ซึ่งเป็นเครื่องที่สร้าง ขึ้นโดยได้มี การทดสอบไปแล้ว สำหรับในโครงการนี้ได้ทำการทดสอบใหม่โดยยึดหลัก หลักวิธีการทดสอบแบบเดิมส่วนหนึ่งและได้เพิ่มเติมเข้าไปอีกส่วนหนึ่งโดย ได้ เพิ่มเติมเข้าไปอีกส่วนหนึ่งโดย ได้เพิ่มการทดสอบในการให้เครื่องทำการกะเทาะ ข้าวโพด ทั้งที่มีเปลือกอยู่เข้าไปด้วย การทดสอบปรากฏว่า
· ทดสอบกับข้าวโพดทั้งที่มีเปลือก ที่ความชื้น 22.64% เครื่องกะเทาะข้าวโพด แบบก้านตีชนิดลูกกะเทาะโปร่ง ระยะ Clearance 6 เซนติเมตร ต้องการกำลัง สูงสุด 2.83 PS ความเร็วรอบลูกกะเทาะที่เหมาะสมในการใช้งานอยู่ที่ 700 รอบ ต่อนาที ปริมาณการแตกของเมล็ดมีค่า 0.61%
· ทดสอบกับข้าวโพดที่ไม่มีเปลือก ที่ความชื้น 22.64% เครื่องกะเทาะข้าวโพด แบบก้านตี Clearance 6 เซนติเมตร เครื่องกะเทาะข้าวโพดแบบก้านตีชนิดลูกกะ เทาะโปร่ง ต้องการกำลังสูงสุด 2.11 PS และ 2.05 PS ความเร็วรอบที่เหมาะ สมอยู่ที่ 550 รอบต่อนาที และ 750 รอบต่อนาที ตามลำดับ ปริมาณการแตกของ เมล็ดมีค่าต่ำกว่า 2.27%
· สำหรับการปรับปรุงทำได้โดยใช้เหล็กขนาด 2 หุน 2 อัน ขนาด 5x70 ตร.ซม. มาทำการเชื่อมติดกันทำมุม 110 องศา จำนวน 4 ชิ้น มาทำลูกกะเทาะ และที่ตัวของ ก้านตีนี้จะเจาะเป็นรู 2 รู ทำมุม 60 องศา รูแต่ละคู่จะห่างกันเป็นระยะ 5 ซ.ม. สำหรับไว้ยึดซี่ฟัน โดยซี่ฟันจะใช้เหล็กขนาด 0.11x5.0x1.8 ลบ.ซม. มาเจาะรู แล้วเชื่อม ขาน็อตเอาไว้สำหรับยึดติดกับก้านตีด้วยน็อต ซึ่งภายในแต่ละก้านตีสามารถ ติดฟันได้ 12 ซี่ เนื่องจากช่องเวลามีจำกัด และต้องใช้ข้าวโพดที่มีความชื้นสูง เป็นจำนวนมากจึงทำให้ไม่สามารถทำการทดสอบได้ทัน จึงต้องให้รุ่นต่อไปทำโครงงาน การทดสอบต่อ