การทดสอบและประเมินผล Hammer mill ในการบดมันสำปะหลัง
เมธี ชาครนิพิท
รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2531. 28 หน้า.
2531
บทคัดย่อ
การทดสอบสมรรถนะของเครื่องบดอาหารสัตว์ชนิด Hammer
mill ซึ่งใช้
เครื่องบดอาหารสัตว์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเครื่องแบบทด
สอบโดยการแปรค่าซี่ตี จากจำนวนซี่ตี 12 ถึง 28 ซี่ และแปรค่าขนาดตะแกรง
จากขนาด 2 มม. ถึง 6.2 มม. โดยใช้มันสำปะหลัง(มันเส้น)
เป็นวัตถุดิบพบว่า
ขนาดของรูตะแกรงและจำนวนซี่ตี มีผลกระทบต่อขนาดและความสม่ำเสมอของขนาด
ของมันเส้นภายหลังการบด กล่าวคือ ขนาดรูตะแกรงเพิ่มขึ้น
มันที่บดได้จะหยาบขึ้น
(โดยเฉลี่ยค่า FM เพิ่มขึ้น 0.44) แต่จะมีความสม่ำเสมอมากขึ้น (โดยเฉลี่ยค่า
UI จะเปลี่ยนจาก 0 : 3 : 7 เป็น 0 : 5
: 5) จำนวนซี่ตีที่เพิ่มขึ้น มันที่บดได้
จะมีความละเอียดขึ้น (โดยเฉลี่ยค่า FM ลดลง 0.31) แต่จะมีความสม่ำเสมอลด
ลง (โดยเฉลี่ยค่า UI จะเปลี่ยนจาก
0 : 4 : 6 เป็น 0 : 3 : 7) %ฝุ่นที่ถูก
คัดแยกออกมีค่าเฉลี่ย G% ของปริมาณมันที่บดออกมาได้
ดังนั้นมันเส้นที่ผ่านการบด
และถูกนำไปใช้งานจริงจะมีค่า FM มากกว่าค่าดังกล่าวข้างต้นเล็กน้อย
(โดยเฉลี่ย
FM เพิ่มขึ้น 0.14) และค่าความสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลง