การออกแบบสร้างและทดสอบลูกหินกะเทาะข้าวเปลือกสำหรับโรงสีเล็ก
ธีรศักดิ์ โชติกลาง และ สมยศ สายแก้ว
รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2531. 119 หน้า.
2531
บทคัดย่อ
ชุดกะเทาะเปลือกข้าวแบบจานหิน
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของ
โรงสี ทำหน้าที่แปรรูปข้าวเปลือกไปเป็นข้าวกล้อง ซึ่งอาศัยความเสียดทานและ
การอัดตัวของจานหินกับเมล็ดข้าวเปลือก การกะเทาะข้าวเปลือกจะดีหรือไม่นั้น
มีปัจจัยที่สำคัญคือ ส่วนผสมของหินกะเทาะ ความเร็วรอบของจานหิน และระยะ
ห่างผิวหน้าจานหิน
โครงการนี้เป็นการประเมินผลด้วยการสร้างชุดกะเทาะเปลือกข้าวแบบ
จานหินแล้วทำการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกะเทาะที่สร้างขึ้น ซึ่งได้ผลการ-
ทดสอบดังนี้
ก) ความสามารถในการกะเทาะสูงสุด ของข้าวนาปรับ(กข.6) ที่ผ่าน
การอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เท่ากับ 825 กก.ต่อชั่วโมง
ที่ความเร็วรอบ 475 รอบต่อนาที
และระยะห่างผิวหน้าจาน เท่ากับ 5 มม.
โดยให้ค่าเปอร์เซนต์การกะเทาะเท่ากับ 12.75
เปอร์เซนต์ และเปอร์เซนต์
ข้าวเต็มเมล็ดเท่ากับ 97% เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดสูงสุดที่ระยะห่างผิวหน้า-
จาน 5 มม.ความเร็วรอบ 600
รอบต่อนาที เป็น 98.75 เปอร์เซนต์ โดย
ให้ค่าความสามารถในการกะเทาะเท่ากับ 765 กก.ต่อชั่วโมงและเปอร์เซ็นต์
การกะเทาะ 15 เปอร์เซนต์
ความสามารถในการกะเทาะสูงสุดของข้าวนาปี(กข.6)
เท่ากับ 1056
กก.ต่อชั่วโมง ที่ความเร็วรอบ 300 รอบต่อนาที ระยะห่างผิวหน้าจาน 5 มม.
โดยให้ค่าเปอร์เซนต์การกะเทาะเท่ากับ 3
เปอร์เซนต์ และเปอร์เซนต์ข้าว-
เต็มเมล็ดเท่ากับ 99 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นเปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดสูงสุด
ข) เปอร์เซนต์การกะเทาะสูงสุด เมื่อระยะห่างผิวหน้าจานเป็น
2 มม.
เท่ากับ 90% สำหรับข้าวชนิดแรก และ 74.5%
สำหรับข้าวชนิดที่สอง ที่ความ
เร็วรอบเดียวกันคือ 600 รอบต่อนาที