การศึกษาสมรรถนะของเครื่องอบแห้งเมล็ดพืชพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงรับแสงทำด้วยพลาสติกใส
พัฒนะ แก้วไทย และ อนันต์ รัตนกังวานวงศ์
รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2533.
2533
บทคัดย่อ
· การอบแห้งผลิตผลทางการเกษตร เป็นกระบวนการที่ทำให้ความชื้นใน ผลิตผลลดลง ในโครงการนี้ เป็นการอบแห้งข้าวเปลือกพันธุ์หอมมะลิ ที่ความ ชื้นเริ่มต้นประมาณ 22% ให้เหลือความชื้นสุดท้ายประมาณ 13% ซึ่งเป็นความ ชื้นที่ปลอดภัยในการเก็บรักษา โดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วม กับเตาให้ความร้อนช่วย วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อศึกษาสมรรถนะของ เครื่องอบแห้งโดยใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบพลาสติกใสปิด และเปรียบเทียบ สมรรถนะของเครื่องชนิดนี้กับการอบแห้งโดยเครื่องซึ่งใช้แผงรับแสงอาทิตย์ แบบกระจกใสปิด
· เครื่องอบแห้งที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 1) ตัวเรือนอบแห้ง สามารถ จุข้าวเปลือกได้ 250 กิโลกรัม 2) พื้นที่รับรังสีมีขนาด 2.25 ตารางเมตร เอียง 16 องศา เทียบกับแนวระดับหันหน้าไปทางทิศใต้ 3) ระบบท่อลมและพัด ลมดูดอากาศขนาด 352 วัตต์ และ 4) เตาให้ความร้อนช่วย มีพื้นผิวถ่ายเท ความร้อน 0.94 ตารางเมตร ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ในโครงการนี้ได้ออก แบบและสร้างแผงรับแสงอาทิตย์แบบพลาสติกใสปิดเท่านั้น ส่วนที่เหลือทั้งหมด ของระบบอบแห้งถูกออกแบบและสร้างไว้ในโครงการที่ผ่านมาแล้ว
· ผลการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2533 ชี้ให้เห็นว่า เครื่องอบแห้งที่ใช้แผงรับแสงอาทิตย์แบบมีพลาสติกใสปิดร่วมกับเตาให้ความร้อน ช่วยให้ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงสุด 19.67% จากความชื้นเริ่มต้น 20.8% wb จนถึงความชื้นสุดท้าย 12.5% wb ภายใน 2 วัน ส่วนเครื่องอบแห้งที่ใช้แผง รับแสงอาทิตย์แบบมีกระจกใสปิด ร่วมกับเตาให้ความร้อนช่วยให้ค่าประสิทธิภาพ เชิงความร้อนสูงสุด 22.11% จากความชื้นเริ่มต้น 22.83% wb จนถึงความชื้น สุดท้าย 12.5% wb ภายใน 2 วัน
· การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งที่ใช้แผง รับแสงทั้ง 2 ชนิด พบว่า แผงรังแสงอาทิตย์แบบมีกระจกใสปิดจะให้ประสิทธิ ภาพในการอบแห้งสูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์แบบ พลาสติกใสปิดอยู่ประมาณ 11.04% ยิ่งไปกว่านั้นราคาของกระจกยังถูกว่าราคาพลาสติกอยู่ 1/3 เท่า โดยส่วนรวมแล้ว แผงรับแสงอาทิตย์แบบกระจกใสปิดมีความเหมาะสม และให้ ประสิทธิภาพดีกว่าแผงรับแสงอาทิตย์แบบพลาสติกใสปิด