เครื่องสางใยฝ้าย
ธุม เอกทัตร์ และ อรรถวุฒิ คล้ายนิล
ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532. 95 หน้า.
2532
บทคัดย่อ
โครงการนี้เป็นการออกแบบ และสร้างเครื่องสางใยฝ้ายสำหรับใช้ใน ขั้นตอนหนึ่งของการปั่นด้ายในอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายทอมือ และทำการทดลองหา สมรรถนะการทำงานของเครื่องสางใยฝ้าย เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับ ปรุงแก้ไขเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมกับการใช้งาน โดยมีจุดประสงค์ หลักคือ ให้ฝ้ายก่อนและหลังเข้าเครื่องสางใยฝ้ายมีความแตกต่างกันมากที่สุด หลักการในการสร้างเครื่องสางใยฝ้ายจะอาศัยชุดตัวตีและชุดแผ่นสาง ประกอบ กับเพลาซึ่งต่อตรงกับมอเตอร์ โดยมีอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบคือ Inverters ฝ้ายเมื่อผ่านเข้าสู่เครื่องสางใยฝ้าย จะถูกตีและแยกเส้นใยออกจากกัน และ เคลื่อนตัวออกจากเครื่องสางใยฝ้ายสู่ภาชนะรองรับ ในการทดสอบเครื่องสาง ใยฝ้ายที่สร้างขึ้น จะทำการวัดอัตราการป้อน อัตราการเคลื่อนที่ของฝ้ายที่ผ่าน เครื่องสางใยฝ้าย ความหนาแน่นฝ้ายที่ได้ และกระแสไฟฟ้าที่ใช้ ซึ่งการทดสอบนั้น ใช้ฝ้ายพันธ์ศรีสำโรง2 โดยทดสอบที่ความชื้น 5,7 และ 9% ที่ความเร็วรอบ 750, 900,1300 และ 1500 รอบต่อนาที จะพบว่าที่อัตราการป้อนและความชื้น 7% เมื่อ เพลาหมุนที่ความเร็วรอบประมาณ 1300 รอบต่อนาที จะได้ฝ้ายมีความหนาแน่นต่ำสุด ประมาณ 7 กก./ลบ.ม. และที่ความเร็วรอบประมาณ 1500 รอบต่อนาที อัตราการ เคลื่อนที่ของฝ้ายจะมีค่ามากที่สุด และใช้กระแสไฟน้อยที่สุดคือ 0.6 แอมป์ ซึ่งจะสรุป ได้ว่าเครื่องสางใยฝ้ายที่สร้างขึ้นสามารถสางทำให้ฝ้ายมีความหนาแน่นน้อยลงเฉลี่ย 64% แต่ยังไม่สามารถนำไปปั่นด้ายได้เนื่องจากความหนาแน่นของฝ้ายที่ได้ยังมากและ การฟูไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องนำไปดีดหรือสางต่ออีกที สำหรับการทำงานของ เครื่องจะได้อัตราการสางฝ้าย 1.9 กก./ชม. ที่ 1300 รอบต่อนาที ค่าไฟฟ้าในการ สางฝ้าย 0.016 บาท/กก. และมีค่า Specific energy consumption 71 วัตต์-ชม/กก. เมื่อใช้เพลาทำงานยาว 79 ซม.และหนัก 10.4 กก.