การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของเครื่องกะเทาะถั่วเขียวผิวมันแบบไหลตามแกน
กิจจา อิ่มประเสริฐสุข
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534. 10 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
· การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถของ เครื่องกะเทาะถั่วเขียวผิวมันแบบไหลตามแกนซึ่งใช้ฟันของลูกกะ เทาะแบบแถบเหล็กนวด สำหรับเป็นข้อมูลในการออกแบบ และ/ หรือปรับปรุงเครื่องกะเทาะถั่วเขีวผิวมันให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย :
· - ระยะห่างระหว่างแถบเหล็กนวดที่ติดบนขอบของลูกกะ เทาะกับแถบเหล็กนวดที่ติดบนตะแกรงกะเทาะส่วนล่าง 5 ระดับ (5 10 15 20 และ 25 มม.)
· - อัตราการป้อนฝักถั่วเขียวผิวมัน 5 ระดับ (500, 750, 1,000,1250 และ 1,500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง)
· - ความเร็วเชิงเส้นของปลายฟันลูกกะเทาะ 4 ระดับ (8.12 9.74 11.36 และ 12.99 เมตรต่อวินาที)
· - ความชื้นของเปลือกถั่วเขียวผิวมัน 4 ระดับ (9.53, 14.12,16.32 และ 19.15 เปอร์เซนต์ มาตรฐานเปียก)
· ค่าที่ใช้วัดสมรรถนะของเครื่องกะเทาะถั่วเขียวผิวมันแบบ ไหลตามแกนได้แก่ ความสูญเสียเนื่องจากการกะเทาะ ปริมาณ เมล็ดแตกหัก ประสิทธิภาพการกะเทาะ ปริมาณเมล็ดถั่วเขียวผิว มันที่คงค้างในห้องกะเทาะ และอัตราการไหลของวัสดุที่ร่วงสู่ อุปกรณ์คัดแยกและทำความสะอาดเมล็ด จากผลการวิจัยสามารถ สรุปข้อเสนอแนะการปรับปรุงและ/หรือการออกแบบเครื่องกะเทาะ ถั่วเขียวผิวมันแบบไหลตามแกน ได้ดังนี้
· 1) ระยะห่างระหว่างแถบเหล็กนวดที่ติดบนขอบของลูกกะ เทาะ กับแถบเหล็กนวดที่ติดบนตะแกรงกะเทาะส่วนล่างควรใช้ระ ยะห่าง 15 มิลลิเมตร
· 2) อัตราการป้อนฝักถั่วเขียวผิวมัน ควรใช้อัตราการป้อน สูงที่สุดเท่าที่เครื่องจะสามารถทำงานได้โดยไม่ติดขัด
· 3) ความเร็วเชิงเส้นของปลายฟันลูกกะเทาะควรใช้ 11 ถึง 12 เมตรต่อวินาที
· 4) ความยาวของลูกกะเทาะสามารถออกแบบได้โดยใช้สม การ GR = Ebl ซึ่งค่า GR ใช้แทนค่าตัวเลขทศนิยมของปริมาณ เมล็ดถั่วเขียวผิวมันที่คงค้างในห้องกะเทาะ ค่าคงที่ (b) ขึ้นอยู่ กับสภาพของถั่วเขียวผิวมันที่ทำการกะเทาะและสภาพการทำงาน ของเครื่องกะเทาะ และ L ใช้แทนความยาวของลูกกะเทาะ
· 5) อุปกรณ์คัดแยกและความสะอาดเมล็ด ต้องสามารถคัด แยกและทำความสะอาดวัสดุที่ร่วงสู่อุปกรณ์ได้ในอัตราไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของอัตราการป้อนต่อความกว้าง 1 เมตร