บทคัดย่องานวิจัย

การอบแห้งชานอ้อยโดยใช้ก๊าซร้อนจากหม้อน้ำของโรงงานน้ำตาล

นรินพร ดงไม้สถิตย์

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. เทคโนโลยีการจัดการพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2537. 124 หน้า.

2537

บทคัดย่อ

การอบแห้งชานอ้อยโดยใช้ก๊าซร้อนจากหม้อน้ำของโรงงานน้ำตาล

·  ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งชานอ้อยโดย ใช้ก๊าซร้อนจากหม้อน้ำของโรงงานน้ำตาลเป็นแหล่งความร้อน เพื่อศึกษาความเป็นไป ได้และหาแนวทางในการอบแห้งชานอ้อยโดยใช้ก๊าซร้อนจากหม้อน้ำ โดยก๊าซร้อนที่ใช้ ได้จากการจำลองสภาวะขึ้นเองภายใต้ห้องปฏิบัติการ การทดลองได้ทำการศึกษาผลของ ตัวแปรที่มีต่อการอบแห้งชานอ้อย ซึ่งได้แก่ ความหนาของกองชานอ้อย, อัตราการไหล เชิงมวลของก๊าซร้อน และระยะเวลาในการอบ ณ ปริมาณความชื้นก๊าซร้อน 2 ระดับ คือ 7% และ 10% โดยน้ำหนัก โดยใช้อุณหภูมิอบแห้งคงที่ที่ 200 องศา และความชื้น ของชานอ้อยเริ่มต้นประมาณ 50% มาตรฐานเปียก

·  จากผลการทดลองสรุปได้ว่า (1) การเพิ่มความหนาของกองชานอ้อยส่งผลให้ อัตราส่วนมวลน้ำที่ระเหยต่อมวลชานอ้อยแห้งมีค่าลดลง (2) การเพิ่มอัตราการไหล เชิงมวลของก๊าซร้อนส่งผลให้อัตราส่วนมวลน้ำที่ระเหยต่อมวลชานอ้อยแห้งมีค่าเพิ่ม ขึ้น (3) การลดความชื้นของก๊าซร้อนหรือการเพิ่มปริมาณอากาศส่วนเกินของการเผา ไหม้ชานอ้อยในหม้อนน้ำ ส่งผลให้การอบแห้งดีขึ้น และ (4) การเพิ่มระยะเวลาใน การอบ ส่งผลให้อัตราส่วนมวลน้ำที่ระเหยต่อมวลชานอ้อยแห้งเพิ่มขึ้นด้วยอัตราลดลง นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของความสิ้นเปลืองพลังงาน ต่อค่าตัว แปรต่าง ๆ ทำให้สามารถเปรียบเทียบหาจุดเหมาะสมของการทดลองได้ว่า ที่อัตรา การไหลเชิงมวลของก๊าซร้อน 1011 kg/hr-sq.m ความชื้นก๊าซร้อน 7% by wt. (300% excess air) อบชานอ้อยที่ความหนา 8 ซม. เป็นเวลานาน 5 นาที เป็น จุดที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งชานอ้อยในงานวิจัยนี้ เนื่องจากมีค่าความสิ้น เปลืองพลังงานต่ำที่สุด

·  จากการศึกษาพบว่า การเผาไหม้ชานอ้ยที่มีความชื้น 50% มาตรฐานเปียก จำนวน 1 ตัน จะมีก๊าซร้อนเกิดขึ้น 9.4 ตัน ซึ่งไม่พอเพียงที่จะใช้อบแห้ง เนื่องจาก ต้องใช้ก๊าซร้อนจำนวน 11.7 ตัน แต่เมื่อชานอ้อยที่เป็นเชื้อเพลิงของหม้อไอน้ำ มีความชื้นลดลง จะทำให้การอบแห้งเกิดได้ดีขึ้น ซึ่งจะได้สภาวะการอบตามต้องการใน ที่สุด