การปรับปรุงเครื่องนวดถั่วเหลืองเพื่อใช้สำหรับนวดเมล็ดพันธุ์ ประจำปี 2536
วินิต ชินสุวรรณ สมโภชน์ สุดาจันทร์ และ อนุสรณ์ เวชสิทธิ์
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น มิถุนายน 2537
2537
บทคัดย่อ
· โครงการนี้เป็นโครงการที่ใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงเครื่องนวดถั่วเหลืองที่นิยมใช้เพื่อทำให้เมล็ดภายหลังการนวดมีคุณ ภาพด้านเมล็ดพันธุ์ดีขึ้น และเผยแพร่การใช้ไปสู่เกษตรกรและโรงงานผู้ประกอบ การผลิต การดำเนินงานในปีแรกเน้นถึงการประเมินผลเครื่องนวดถั่วเหลือง แบบไหลตามแกนที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีลูกนวดแบบติดแถบนวดและแบบซี่ฟันกลม โดย ดำเนินการทดสอบเปรียบเทียบทั้งสำหรับถั่วเหลืองที่ปลูกในฤดูแล้ง และถั่วเหลือง ที่ปลูกในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงหรือใช้เครื่องนวด ที่มีอยู่สำหรับนวดเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีประสิทธิภาพ
· ผลการศึกษาในปีแรก มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
· 1. ลูกนวดแบบซี่ฟันกลมและแบบติดแถบนวด ควรมีความยาวอย่างน้อย 1.2 เมตร เพื่อมิให้เมล็ดสูญเสียเนื่องจากการแยกมากเกินไป
· 2. เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด เมื่อนวดโดยใช้ลูกนวดแบบซี่ฟันกลมและแบบ ติดแถบนวด มีค่าใกล้เคียงกัน
· 3. ช่วงความยาวลูกนวดมีผลเพียงเล็กน้อยต่อความงอกของเมล็ด โดยเฉพาะเมื่อ นวดถั่วเหลืองที่มีความชื้นประมาณ 15% (wb)
· 4. ความชื้นของถั่วเหลืองขณะทำการนวด มีผลอย่างมากต่อความงอกของเมล็ด การนวดเมื่อเมล็ดถั่วเหลืองมีความชื้นประมาณ 15% (wb) จะให้เปอร์เซ็นต์ความ งอกสูงกว่าการนวดเมื่อถั่วเหลืองแห้งหรือชื้นเกินไป
· 5. ความเร็วลูกนวดมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความงอกของเมล็ด โดยความ งอกจะลดลงเมื่อความเร็วของลูกนวดเพิ่มขึ้น