การวิจัยและพัฒนาเครื่องนวดข้าวและถั่วเหลืองขนาดเล็ก
ปราโมทย์ คำเมือง สุทร จ้อยพจน์ พงษ์ศักดิ์ ต่ายก้อนทอง และสำราญ สีตาล
รายงานการวิจัย กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
2537
บทคัดย่อ
· เครื่องนวดเมล็ดพืชที่ผลิตใช้กันในประเทศมีหลายขนาด หลายรุ่น ขึ้นกับความ ต้องการของเกษตรกรผู้ใช้ในแต่ละท้องที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีปัญหา พื้นที่เพาะปลูกพืชขนาดเล็กและรายได้ของเกษตรกรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ การ วิจัยและพัฒนาเครื่องนวดเมล็ดพืชโดยเฉพาะข้าวและถั่วเหลืองให้มีรูปร่างขนาดกระ ทัดรัด น้ำหนักเบา สำหรับการบำรุงรักษาและซ่อมที่ง่ายขึ้น จะเป็นรูปแบบที่เหมาะสม กับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในการนวดข้าว/ถั่วเหลือง ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน รูปแบบการวิจัย และพัฒนาเครื่องนวดข้าว/ถั่วเหลืองขนาดเล็กเน้นการศึกษาการทำงานของเครื่อง นวดแบบ hold-on และ throw-in ผลการวิเคราะห์และประเมินผลการทดสอบ ระบบลูกนวด hold-on ต้นแบบ 6 แบบ ในการนวดข้าวพบว่าเครื่องต้นแบบดังกล่าว มีศักยภาพการทำงานไม่ดีเท่ากับการใช้แรงงานคนนวดข้าวระบบลูกนวดแบบ hold on ที่ทำงานได้ดีที่สุดคือระบบลูกนวดแบบเกลียวฟันซี่นวดโผล่เหนือครีบนวด 127 มิลลิเมตร จำนวนฟันซี่นวด 4 แถว ส่วนผลการวิเคราะห์และประเมินผลการทดสอบระบบลูกนวด throw-in ต้นแบบ 7 แบบ ปรากฏว่าระบบลูกนวดแบบเกลียวโปร่งไม่มีครีบนวด ขวางและครีบวงเดือนเป็นส่วนประกอบระบบการนวด มีอัตราการทำงาน 226.71 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการนวด 100% ประสิทธิภาพการทำความสะอาด 98.31% การสูญเสียรวม 2.36% เปอร์เซ้นต์การแตกหัก 0.04% ไม่มีการแตกร้าว ของเมล็ดข้าวที่นวด มีปริมาณสิ่งเจือปน 1.47% ขณะที่เครื่องนวดต้น แบบฟันซี่กลมมีครับวงเดือนเป็นส่วนประกอบระบบการนวดมีอัตราการทำงาน 206.41 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการนวด 100% ประสิทธิภาพการทำความสะอาด 99.54% การสูญเสียรวม 2.36% เปอร์เซ็นต์การแตกหัก 0.08 เปอร์เซ็นต์การ แตกร้าว 1% มีปริมาณสิ่งเจือปน 0.25% ในการนวดถั่วเหลืองปรากฏว่าระบบลูก นวดแบบเกลียวข้างต้นสามารถทำงานได้