บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาค่าของพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ และออกแบบการอบแห้งเมล็ดข้าวโพด

อรุณี ผุดผ่อง

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. เทคโนโลยีพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2531. 101 หน้า.

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณสมบัติของพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ และออกแบบการอบแห้งเมล็ดข้าวโพด

·  ในการวิเคราะห์การออกแบบอุปกรณ์และการอบแห้งวัสดุจำเป็นต้องทราบ
พารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่นความชื้นสมดุล อัตราการอบแห้งชั้นบาง ความหนาแน่น
ปรากฎและเปอร์เซนต์ช่องว่าง ซึ่งวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ก็เพื่อที่จะศึกษา
หาพารามิเตอร์ดังกล่าว ของเมล็ดข้าวโพดที่กำลังนิยมปลูกในประเทศไทย คือ
พันธุ์สุวรรณ 1 และ สุวรรณ 2
สำหรับความชื้นสมดุล ได้ทำการศึกษาโดยวิธีสถิต นั่นคือ ควบคุมอุณหภูมิ
โดยใช้ตู้อบและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์โดยใช้สารละลายเกลืออิ่มตัว ซึ่งมีช่วง
อุณหภูมิที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 3570 องศา และความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 1090%
จากการทดลองพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นสมดุลและความชื้นสัมพัทธ์ที่
อุณหภูมิหนึ่ง ๆ ที่ได้จากการทดลองเป็นรูป Sigmiod, อุณหภูมิมีผลต่อความชื้น
สมดุลอย่างเด่นชัด อิทธิพลของ Hysteresis มีผลต่อความชื้นสมดุลมากกว่า
ชนิดของพันธุ์ข้าวโพด โดยพบว่าความแตกต่างสูงสุดระหว่างความชื้นสมดุลที่ได้
จากการคายความชื้น และการดูดซับความชื้นจากการทดลอง 6 ครั้งประมาณ
1% มาตรฐานแห้ง ส่วนความแตกต่างระหว่างพันธุ์ โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่ามี
น้อยมาก
สำหรับอัตราการอบแห้งชั้นบาง ได้ทำการศึกษาที่อุณหภูมิระหว่าง 4570 องศา
ความชื้นเริ่มต้นของเมล็ดข้าวโพดอยู่ระหว่าง 1836% มาตรฐานแห้ง
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอยู่ระหว่าง 1234% จากกการทดลองพบว่าความ
ชื้นเริ่มและอุณหภูมิมีอิทธิพลต่ออัตราการอบแห้ง ในขณะที่ความเร็วลมและชนิด
ของพันธุ์ข้าวโพดมีผลน้อยมาก นั้นคืออัตราการอบแห้งจะเพิ่มขึ้นเมื่อความชื้น
เมล็ดพืช และอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น (ในขณะที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำลง) ส่วน
ความเร็วลม และชนิดของพันธุ์ข้าวโพดมีผลต่ออัตราการอบแห้งน้อยมาก ซึ่ง
สามารถตัดทิ้งได้
จากการวิเคราะห์ข้อมูลหาความชื้นสมดุล โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์
พบว่ารูปแบบสมการของ Henderson, 1952, และของ Chung & pfost, 1967
ใช้อธิบายข้อมูลจากการทดลองได้ดี และในการวิเคราะห์ข้อมูลหาอัตรา
การอบแห้งชั้นบางพบว่า รูปแบบสมการของ Page. 1949 ใช้อธิบายข้อมูลได้
ดีกว่าสมการอื่น
สำหรับคุณสมบัติอื่น ซึ่งได้แก่ความหนาแน่นปรากฎและเปอร์เซนต์ช่อง
ว่างของอากาศ จากการทดลองพบว่า ความหนาแน่นและความร้อนจำเพาะ
แปรตามความชื้นของเมล็ดข้าวโพดนี้นคือ เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น ความหนาแน่น
ปรากฎ ของเมล็ดข้าวโพดมีค่าเพิ่มขึ้นด้วยในลักษณะระเชิงเส้น ส่วนเปอร์เซนต์
ช่องว่างของอากาศเป็นส่วนกลับกับความชื้น นั่นคือเมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น
เปอร์เซนต์ช่องว่างของอากาศจะลดลงในลักษณะเชิงเส้นเช่นกัน