การรักษาคุณภาพข้าวเปลือกโดยวิธีระบายอากาศในกองข้าวอย่างเหมาะสมในเขตอากาศร้อนชื้น
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ อดิศักดิ์ นาถกรณกุล ไพโรจน์ วงศ์วิโรจน์ธนา และ สมชาย ฉินสกลธนากร
การประชุมทางวิชาการทางวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. 18-20 พฤษภาคม 2537. หน้า136-144.
2537
บทคัดย่อ
· การออกแบบระบบอบแห้งต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์หลังการอบ ปริมาณของ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถอบได้ และปริมาณพลังงานที่ใช้ การอบแห้งข้าวเปลือกโดยวิธี ระบายอากาศในกองข้าวซึ่งใช้ระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมา จากเชื้อรา ข้าวเหลือง และสูญเสียมวลแห้ง การหาอัตราการไหลและความหนาของชั้น ข้าวที่จะอบแห้งให้เหมาะสมมักจะสูญเสียเวลาไปกับการคำนวณมาก งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อเสนอแผนภูมิสำหรับการออกแบบการอบแห้งโดยวิธีระบายอากาศในกอง ข้าวภายใต้ภาวะอากาศร้อนชื้น และเพื่อหาตัวแปรของการดำเนินการอบแห้งและการอบ แบบที่เหมาะสม การวิจัยเริ่มจากการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบใกล้สมดุลของ ข้าวเปลือก ซึ่งแบบจำลองนี้ได้รวมผลกระทบของความร้อนจากการหายใจของเมล็ดพืช เข้าไว้ในแบบจำลองเพื่อเพิ่มความถูกต้องของแบบจำลองให้มากขึ้น จากการเปรียบ เทียบผลการอบแห้งจากการทดลองกับแบบจำลองดังกล่าวพบว่า แบบจำลองทำนายผลการ อบแห้งได้ใกล้เคียง ความร้อนจากการหายใจของเมล็ดพืชมีผลกระทบต่อการอบแห้งอย่าง มากเมื่อความชื้นเริ่มต้นของข้าวเปลือกมีค่าสูง และไม่มีผลกระทบใด ๆ ถ้าความ ชื้นเริ่มต้นของข้าวเปลือกมีค่าต่ำเพียงพอจากความเชื่อถือได้ของแบบจำลองนี้จึง นำมาคำนวณหาผลจากการอบแห้งที่เงื่อนไขต่าง ๆ กัน โดยแต่ละเงื่อนไขของการคำนวณ นี้จะกำหนดให้ค่าการสูญเสียมวลแห้งไม่เกิน 0.5% และสมมุติว่าที่ค่าการสูญเสีย มวลแห้งไม่เกินค่านี้ ข้าวเปลือกยังคงรักษาคุณภาพไว้ได้ นำผลจากการคำนวณที่ได้ จากการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ มาสร้างเป็นกราฟ 4 ควอดเดรนท์ จากกราฟสามารถ หาอัตราการไหลของอากาศจำเพาะ (m^3/min-m^3 ข้าวเปลือก๗ ต่ำสุดที่อัตราการ สูญเสียมวลแห้ง 0.5% ได้อัตราการไหลของอากาศจำเพาะนี้จะมีค่าเพิ่มขึ้นตามความ ชื้นเริ่มต้นของเมล็ดพืชที่เพิ่มขึ้น แต่จะลดลงเมื่อความหนาของชั้นเมล็ดพืช เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กราฟยังสามารถบอกค่าการสูญเสียความดัน การสิ้นเปลืองพลังงาน จำเพาะ และเวลาในการอบแห้ง จึงเหมาะสำหรับผู้ออกแบบระบบอบแห้งในด้านลด เวลาในการคำนวณ และหาตัวแปรสำหรับการดำเนินการอบแห้งและออกแบบที่เหมาะสม และจากกราฟยังทราบอีกว่า การอบแห้งโดยวิธีระบายอากาศในกองข้าวเปลือกในภาวะ อากาศร้อนชื้นควรใช้อัตราการไหลของอากาศจำเพาะประมาณ 0.5 ถึง 1.0 m^3/min-m^3 ข้าวเปลือกที่ความสูงของกองข้าวเปลือกประมาณ 3 ถึง 4 เมตร และความชื้นเริ่มต้น 18 ถึง 19 เปอร์เซนต์มาตรฐานเปียก และในกรณีที่ต้องการประหยัดพลังงานควรระบาย อากาศในกองข้าว เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่เข้าสู่กองข้าวเปลือกต่ำกว่า 75% เท่านั้น