บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบระบบต้นแบบของการอบแห้งข้าวเปลือกในถังเก็บและการเก็บรักษา

สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ สมเกียรติ ปรัชญาวรากร ปราศรัย ชลิดาพงศ์ และอดิศักดิ์ นาถกรนกุล

การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมเกษตร, ณ อาคารศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 18-20 พฤษภาคม 2537. 2537. หน้า 145-153. 271 หน้า

2537

บทคัดย่อ

การทดสอบระบบต้นแบบของการอบแห้งข้าวเปลือกในถังเก็บและการเก็บรักษา

·  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโรงเก็บข้าวเปลือกให้สามารถ อบแห้งและเก็บรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทดสอบการอบแห้งข้าวเปลือกในถังเก็บ โดยพิจารณาความสิ้นเปลืองพลังงานและคุณภาพของข้าวเปลือกหลังการอบแห้ง นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากการทดลองพบว่าระบบอบแห้งที่ ออกแบบมีการกระจายของลมสม่ำเสมอตลอดพื้นที่อบแห้ง การสูญเสียความดันในระบบอบ แห้งโดยส่วนใหญ่เกิดจากการไหลของอากาศผ่านกองข้าวเปลือก ในการลดความชื้นข้าว เปลือกจากความชื้น 16% มาตรฐานเปียกเหลือ 14% มาตรฐานเปียก โดยใช้อัตราการ ไหลของอากาศประมาณ 2.03 m^3/min-m^3 ข้าวเปลือก ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า โดยเฉลี่ย 19 บาทต่อตันข้าวเปลือก เปอร์เซนต์ข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าการอบแห้งโดย วิธีตากแดด 11% ผู้ผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่ได้ข้าวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นประ มาณ 160 บาทต่อตันข้าวเปลือก ในการเก็บรักษาข้าวเปลือกที่ความชื้นประมาณ 14% มาตรฐานเปียก ควรมีการระบายความร้อนออกจากกองข้าวเปลือกเป็นระยะ ๆ โดยการ เป่าอากาศแวดล้อมเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ผลจากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในการทำนายอัตราการอบแห้ง พบว่าในการลดความชื้นข้าวเปลือก 18% มาตรฐานเปียก เหลือ 14% มาตรฐานเปียก โดยใช้อัตราการไหลอากาศ 1.3 m^3/min-m^3 ข้าวเปลือก ให้ความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 35 บาทต่อตันข้าวเปลือก และในการวิเคราะห์ทาง เศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าระบบอบแห้งแบบถังเก็บให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ย เงินฝากและระยะคืนทุนสั้น