บทคัดย่องานวิจัย

การปรับใช้เครื่องอบแห้งแบบตั้ง (Columnar) ที่ใช้อยู่สำหรับการอบแห้งช่วงแรกของระบบ In-store Drying

ไมตรี แนวพนิช วิบูลย์ เทเพนทร์ และ เวียง อากรซี

รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

2539

บทคัดย่อ

การปรับใช้เครื่องอบแห้งแบบตั้ง (Columnar) ที่ใช้อยู่สำหรับการอบแห้งช่วงแรกของระบบ In-store Drying

·  เครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันเป็นเครื่องลดความชื้นแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้า เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานให้สามารถลดความชื้นได้ปริมาณมากขึ้น จึงได้ปรับปรุงเครื่องลดความชื้นเมล็ดพืชแบบเมล็ดไหลคลุกเคล้าที่มีใช้อยู่ให้สามารถอบแห้งช่วงแรก ก่อนการลดความชื้นในยุ้งเก็บ โดยการเปลี่ยนพัดลมเพื่อเพิ่มปริมาณลมจากเดิม 30 ม3/นาที/ม3 ข้าวเปลือก เป็น 40 ม3/นาที/ม3 ข้าวเปลือก จากการทดสอบลดความชื้นข้าวเปลือกแบบไหลต่อเนื่องที่อัตราการไหลของเมล็ด 4 ระดับ คือ 5, 7, 10 และ 12 ตัน/ชม. โดยใช้อุณหภูมิลมร้อนประมาณ 100 องศา พบว่า ที่ความชื้นเริ่มต้นในช่วง 22-25% สามารถลดความชื้นได้ 5, 2.6, 2.2 และ 2.1% ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์คุณภาพการสีภายหลังจากลดความชื้นเปรียบเทียบกับตัวอย่างข้าวเปลือกที่ลดความชื้นโดยการเป่าลมธรรมชาติ พบว่า ที่อัตราการไหลข้าวเหลือก 5 ตัน/ชม. จะมีข้าวหักแตกต่างสูงเกิน 5% ข้าวเปลือกที่ผ่านการลดความชื้นช่วงแรกแล้ว นำไปลดความชื้นต่อในยุ้งเก็บนาน 45 วัน ความชื้นจะลดลงเหลือ 14.8% โดยคุณภาพการสีไม่เปลี่ยนแปลง