ออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดและทำความสะอาดเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็ก
สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี พินัย ทองสวัสดิ์วงศ์ และไพรัช หุตราชภักดี
รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช กองวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
2539
บทคัดย่อ
· การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็ก ซึ่งสามารถคัดขนาดและทำความสะอาดได้จะช่วยส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ และในขณะเดียวกันเกษตรกรก็สามารถคัดเมล็ดพันธุ์เพื่อแยกจำหน่ายเป็นเกรด ซึ่งจะทำให้ราคาขายสูงขึ้น การวิจัยได้ดำเนินการออกแบบเครื่องคัดขนาดและทำความสะอาด สามารถทำงานได้ 500 กก./ชม. การใช้เครื่องคัดขนาดและทำความสะอาด เมื่อใช้ถั่วที่ปลูกปลายฝน ซึ่งมีปริมาณส่วนที่ต้องคัดออก 4.22% พบว่า มีความสามารถในการทำงานและประสิทธิภาพในการคัดแยก 349.98 กก./ชม. และ 43.13% ซึ่งสูงกว่าการร่อนด้วยตะแกรง 244.22 กก./ชม. และ 10.90% ตามลำดับ การร่อนด้วยเครื่องคัดขนาดและทำความสะอาด ภายหลังการปรับปรุงมีความสามารถในการทำงาน 500 กม./ชม. ซึ่งสูงกว่าการร่อนด้วยตะแกรง 379.24 กก./ชม. และพบว่า เมล็ดพันธุ์ภายหลังการร่อนมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์จะจำหน่าย เป็นเมล็ดพันธุ์ไม่จำเป็นต้องนำมาคัดอีก สำหรับการใช้กับถั่วที่ปลูกในฤดูแล้ง ซึ่งมีปริมาณส่วนที่ต้องคัดออก 11.18% ซึ่งสูงกว่าการร่อนด้วยตะแกรง 258.42 กก./ชม. และ 9.08% ตามลำดับ
· สำหรับถั่วที่ปลูกปลายฤดูฝน
ซึ่งมีราคาขายเป็นเมล็ดพืชและเมล็ดพันธุ์ 8.50 และ
12.40 บาท/กก. ตามลำดับ การใช้เครื่องคัดขนาดและทำความสะอาดเพียงเครื่องเดียวในขบวนการคัดเมล็ดพันธุ์
มีจุดคุ้มทุน 1,192.09 กก./ปี
และมีระยะคืนทุน 2.32 ปี ส่วนถั่วที่ปลูกในฤดูแล้ง ซึ่งมีราคาขายเป็นเมล็ดพันธุ์และเมล็ดพืช
8.20 และ 12.29 บาท/กก. ตามลำดับ การใช้เครื่องคัดขนาดและทำความสะอาดมีจุดคุ้มทุน
1,396.06 กก./ปี และมีระยะคืนทุนเท่ากับ
4.36 ปี ปัจจุบันเครื่องนี้ได้เผยแพร่สู่โรงงานและได้ผลิตจำหน่ายแล้ว