พัฒนาวิธีการเก็บรักษาข้าวโพดระดับเกษตรกร
พิมล วุฒิสินธ์ นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล และสุภัทร หนูสวัสดิ์
รายงานการวิจัย กลุ่มงานวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว กองเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
2539
บทคัดย่อ
· ทำการทดสอบการเก็บรักษาข้าวโพดฝักในยุ้งระดับเกษตรกร
โดยติดตั้งยุ้งขนาด 25 ตัน/ฝัก จำนวน 2 ยุ่ง ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดที่อำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี
โดยเลือกวิธีการทดลองจากการทดสอบการเปรียบเทียบ + วิธีการคือ
รมควันกำมะถัน เป่าลมร้อน พัดลมระบายอากาศ และยุ่ง Control ซึ่งในปี
2536 และ 37 ทำการทดลองโดยการเป่าลมร้อนเปรียบเทียบกับยุ้งกำมะถัน
พบว่า ยุ้งที่รมกำมะถันมีสารพิษแอฟลาทอกซินในปริมาณที่สูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะบริเวณมุมและส่วนล่างของยุ้ง
ซึ่งบางครั้งควันกำมะถันไม่สามารถแพร่กระจายไปถึง อีกทั้งมีฝนสาดเข้าไปได้ระหว่างเก็บ
ในปี 2538 จึงทำการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างยุ้งที่เป่าลมร้อนกับยุ้งเป่าลมธรรมดา
ซึ่งบรรจุข้าวโพดยุ้งละประมาณ 25ตัน/ฝัก
จนกระทั่งความชื้นเหลือประมาณ 17-18% จากความชื้นเริ่มต้นประมาณ
30% และบางส่วนของข้าวโพดฝักเปียกฝนระหว่างทำการเคลื่อนย้ายจากไร่มาบรรจุในยุ้ง
จากนั้นจึงทำการรมควันกำมะถันในยุ้งที่เป่าลมธรรมดาในปริมาณ 3 กก./ครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง
เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดมอดและแมลงเข้าทำลาย ทำให้ข้าวโพดสูญเสียคุณภาพและน้ำหนักระหว่างการเก็บรักษา
ซึ่งเก็บนานประมาณ 5-7 เดือน โดยทำการเป่าลมร้อนและลมธรรมดาในช่วงกลางวันประมาณวันละ
4-5 ชม. จากการทดสอบพบว่า
ปริมาณแอฟลาทอกซินในยุ้งที่ใช้ลมร้อนจะมีปริมาณน้อยกว่า แต่การสังเกตุพบว่ายุ้งที่รมกำมะถันจะมีการเข้าทำลายของมอดและแมลงน้อยกว่า