การศึกษาปัญหาในการผลิตและการใช้เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกสำหรับโรงสีข้าวในเขตภาคกลางผู้
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล สมยศ เจริญอักษร นิตยา เงินประเสริฐศรี และ สันติ ศรีสวนแตง
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), รหัสโครงการ: RDG3825101, 2539. 114 หน้า.
2539
บทคัดย่อ
· จากการสำรวจผู้ผลิตเครื่องอบแห้งข้าวเปลือก ทั้งกลุ่มผู้นำเข้า ผู้ผลิตรายใหญ่ และผู้ผลิตรายย่อย รวมทั้งการสำรวจโรงสี 11 จังหวัด เขตภาคกลาง
· พบว่าสภาวะการผลิตเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกมีแนวโน้มการพัฒนาและการแข่งขันในระดับค่อนข้างดี สภาวะการใช้ในกลุ่มโรงสีโดยภาพรวมก็มีแนวโน้มในทางที่ดีเช่นกัน แม้จะมีความแตกต่างอยู่บ้างในด้านคุณภาพการใช้งานเครื่องอบ การวิเคราะห์ผลตอบแทนจาก การลงทุนติดตั้งเครื่องอบใน 4 กรณีของการใช้งาน ได้ข้อสรุปว่าที่อัตราการใช้งาน 6 เดือนต่อปี จะมีระยะการคืนทุนภายใน 1 ปี ทั้ง 4 กรณี
· บนพื้นฐานของข้อมูลจากการสำรวจ ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาระดับการใช้งานจริงของเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในส่วนของการ ส่งเสริมการใช้ในระดับโรงสีนั้น ได้ให้ข้อเสนอแนะที่ครอบคลุมทั้งโรงสีขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่มีจุดเน้นในการประกอบธุรกิจการค้าข้าวต่างกัน ทั้งนี้ให้ความสำคัญมากขึ้นกับกลุ่มโรงสีขนาดกลางที่ยังมีการแพร่หลายของเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกในระดับค่อนข้างต่ำ