บทคัดย่องานวิจัย

การปรับปรุงเครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบใช้แรงเหวี่ยง

สมโภช แก้วเนียม ธีระ ดำรงธีระกุล และ ประสพโชค รอดพิทักษ์

โครงการวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2529 .39 หน้า

2529

บทคัดย่อ

การปรับปรุงเครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบใช้แรงเหวี่ยง

ในโครงการปรับปรุงเครื่องกะเทาะมะม่วงหิมพานต์ แบบใช้แรงเหวี่ยงนี้ได้ปรับปรุง
จากเครื่องเดิมของ นายบุณยชัย และคณะ (2528) และส่วนที่ปรับปรุง คือขนาดของ
แผ่นเหล็กที่ใช้ทำโครงให้หนาขึ้น และความเร็วรอบของจานเหวี่ยง โดยที่ของเดิมใช้
ความเร็วที่ 1100 รอบต่อนาที มาใช้ความเร็วรอบ 432, 510, 610, 753 และ 890 รอบ
ต่อนาที และส่วนที่ปรับปรุงอีกอย่างก็คือ เป้ากระแทกที่เราเพิ่มเข้าไป ซึ่งของเดิมใช้แค่
เป็นแผ่นเหล็กม้วนให้เป็นวงกลม แต่เครื่องที่ปรับปรุงใหม่ใช้เป็นแผ่นครีบเอียง 45 องศา
เครื่องกะเทาะมะม่วงหิมพานต์ที่ปรับปรุงใหม่นี้ได้ออกแบบใช้กับมะม่วงหิมพานต์
ที่ผ่านขบวนการปรับความชื้นที่เหมาะสม โดยที่เปลือกมีความชื้นประมาณ 6% และ
เนื้อในมีความชื้นประมาณ 6% และทอดในน้ำมันพืชที่มีอุณหภูมิ 200 องศา เป็นเวลา 2
นาที เมื่อนำมากะเทาะกับเครื่อง เมล็ดจะถูกเหวี่ยงโดยใช้แผ่นจานเป็นตัวเหวี่ยงไป
กระทบเป้าทำให้เมล็ดเกิดการแตก ซึ่งตัวเหวี่ยงได้กำลังจากมอเตอร์
การทดสอบใช้ความเร็วรอบของจานเหวี่ยง 432, 510, 610, 753 และ 890 รอบต่อนาที
แบ่งเมล็ดออกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก (น้ำหนักประมาณ 3.84 กรัม) ขนาดกลาง
(น้ำหนักประมาณ 4.64 กรัม) และขนาดใหญ่ (น้ำหนักประมาณ 5.81 กรัม) ซึ่งขนาดเมล็ด
นี้มี 50% ของเมล็ดทั้งหมด) ในการกะเทาะแต่ละชุดจะทำการเหวี่ยงเมล็ดซ้ำ 3 ครั้ง
ผลจากการทดลอง เมล็ดขนาดใหญ่ ความเร็วจานเหวี่ยงต่ำจะให้เปอร์เซนต์เมล็ดเต็มสูงสุด
เมล็ดขนาดเล็กความเร็วสูงสุดจะให้เปอร์เซนต์เมล็ดเต็มน้อยสุด ซึ่งความเร็วที่เหมาะสม
ที่สุดในการทดลองคือ 432 รอบต่อนาที ซึ่งผลจากการทดลองที่ได้แตกต่างจากเครื่องเดิม เช่น
ขนาดเมล็ดระหว่าง 5-6 กรัมได้เปอร์เซนต์เมล็ดเต็มสูงสุด 60.87% แต่ของเดิมได้เปอร์เซนต์
สูงสุด 50.0% ซึ่งสูงกว่าของเดิม 10.87%