ห้องบ่มผลไม้
สมโภชน์ วัลยะเสวี และ ขนิษฐา สุตพันธ์
โครงการวิศวกรรมเกษตร ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534. 66 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
· การบ่มผลไม้โดยใช้ห้องบ่มผลไม้ เป็นการเร่งกระบวนการสุกของผลไม้ให้เกิด ขึ้นเร็วขึ้นกว่าปล่อยให้สุกเองตามธรรมชาติโดยมีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสม การบ่มผลไม้สามารถใช้ได้กับผลไม้เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ในการทดลองได้ใช้ กล้วยหอมจำนวน 65 หวี โดยแบ่งการทดสอบเป็น 4 กลุ่ม คือ
· กลุ่มที่ 1 เป็นการบ่มโดยใช้ห้องบ่มผลไม้ บ่มด้วยวิธี Trickle method ควบคุมอุณหภูมิ ความเข้มข้นก๊าซเอทธิลีน และความชื้นสัมพัทธ์
· กลุ่มที่ 2 บ่มโดยใช้ห้องบ่มผลไม้ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
· กลุ่มที่ 3 บ่มโดยใช้ห้องบ่มผลไม้ บ่มด้วยวิธี Shot method ควบคุมความ เข้มข้นก๊าซเอทธิลีน และความชื้นสัมพัทธ์
· กลุ่มที่ 4 เป็นการปล่อยให้สุกเองตามธรรมชาติ
· จากการทดสอบพบว่า ปัจจัยที่ผลต่อการสุกของผลไม้ ได้แก่ ความเข้มข้นของ ก๊าซเอทธิลีน อุณหภูมิของห้องบ่ม ความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งถ้าความเข้มข้นของก๊าซ เอทธิลีนที่ใส่เข้าไปในห้องบ่มต่ำจะทำให้ผลไม้สุกช้า อุณหภูมิภายในห้องบ่มถ้าต่ำ เกินไปจะทำให้ผิวของผลเหี่ยวและน้ำหนักผลไม้ลดลง การบ่มด้วยวิธี Shot method ผลไม้สุกเร็วกว่า ความสม่ำเสมอในการสุกดีกว่าและสิ้นเปลืองก๊าซเอทธิลีนน้อยกว่า การบ่มด้วยวิธี Trickle method