การศึกษากรรมวิธีการบ่มกล้วยหอมพันธุ์ Grand Nain
สมพิศ แซ่เตียว
โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2535. 60 หน้า.
2535
บทคัดย่อ
· โครงการนี้มุ่งที่จะศึกษาถึง กรรมวิธีในการบ่มกล้วยหอมพันธุ์ Grand Nain การทดลองประกอบด้วยเงื่อนไขดังนี้ คือ (1) ใช้ Ethylene gas เป็นสารเร่ง (100 ppm, 200 ppm, 400 ppm) (2) ใช้ Entrel เป็นสารเร่ง (500 ppm, 1000 ppm) (3) ใช้ถ่านแก๊ส เป็นสารเร่ง (30 g/kg, 20 g/kg, 10 g/kg) (4) Control โดยมุ่งหาอิทธิพลของเงื่อนไข จาก (1)-(4) ต่อระยะเวลาบ่ม ความหวาน, สี, ความแน่นเนื้อ และการสูญเสียน้ำหนัก ภายใต้สภาวะอากาศที่มี การควบคุม (20 องศา, RH 85-90%) เปรียบเทียบกับสภาวะที่ไม่มีการควบคุม (สภาวะปกติ)
· ผลการทดลองปรากฏว่า คุณภาพของการบ่มกล้วยที่มีการควบคุมสภาวะอากาศ จะดีกว่าการบ่มที่ไม่มีการควบคุมสภาวะอากาศ โดยความเข้มข้นของสารตัวเร่งจะมี อิทธิพลเฉพาะอายุการวางขาย แต่คุณภาพอย่างอื่นมีค่าใกล้เคียงกัน สาร Ethylene gas กับ Ethephon ให้คุณภาพของกล้วยภายหลังการบ่มดีกว่าถ่านแก๊ส
· การบ่มกล้วยที่มีการควบคุมสภาวะอากาศ จะมีอายุการบ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 3 วัน ความหวานอยู่ในช่วย 18-20 Brix, ความแน่นเนื้อ 0.5-0.6 กิโลกรัม และอายุการวางขายประมาณ 3 วัน ส่วนสีของกล้วยเมื่อสุกจะมีสีเหลืองสม่ำเสมอ
· เมื่อพิจารณาการทดลองการบ่มกล้วยเพื่อการค้าควรใช้ Ethylene gas ความเข้มข้น 200 ppm หรือใช้ Ethephon ความเข้มข้น 500-1000 ppm ซึ่ง จะสอดคล้องกับผลการทดลองของ อาจารย์ เบญจมาศ ศิลาย้อย