บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาระบบพ่นสารเคมีทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว

สุสิน จารุสุสินธ์ และ จิตอาภา ศรีราม

โครงงานวิศวกรรมเกษตร (วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2538. 25 หน้า.

2538

บทคัดย่อ

การศึกษาระบบพ่นสารเคมีทุเรียนหลังการเก็บเกี่ยว

·  งานการศึกษานี้ทำการหาเปอร์เซ็นต์พื้นที่ผิวลูกบอล (แทนผลทุเรียน) เปียก เฉลี่ยในลังที่ซ้อนกัน 2 ชั้น พบว่า จากการถูกพ่นด้วยน้ำสี (แทนสารเคมี) ที่ เวลา 40 วินาที พื้นที่ผิวลูกบอลในลังบนเปียกเฉลี่ย 95.7% โดยมีความถี่ของพื้น ที่เปียกสมบูรณ์คือ 94.1% พื้นที่ผิวลูกบอลในลังล่างเปียกเฉลี่ย 91.7% น้อยกว่า ในลังบน และความถี่ของพื้นที่ผิวที่เปียกสมบูรณ์ดีก็น้อยกว่ามาก คือ 29.4% พื้น ที่ผิวลูกบอลที่เกือบไม่เปียกเลยก็มี เมื่อเพิ่มระยะเวลาการพ่นน้ำสีออกไป พบว่า ลังบนเปียกสมบูรณ์ 100% ทุกผล ตั้งแต่เวลาพ่นนาน 80 วินาทีขึ้นไป ลังล่างที่ 80 วินาที มีความถี่ของพื้นที่ผิวที่เปียกสมบูรณ์ 64.7% และพิสัยของพื้นที่ผิว ของลูกบอลที่เปียกไม่สมบูรณ์เป็น 98.4%-86.9% ลังล่างที่ 100 วินาที มีความถี่ และพิสัยของพื้นที่ผิวที่เปียกสมบูรณ์ดีกว่า คือ 14/17*100 = 82.4% และ 99.5%-96.6% ตามลำดับ

·  เพราะฉะนั้น Correction Factor ของผิวทดสอบที่นำมาใช้คือ 1.67 นั่นคือ ถ้าใช้เวลา 100 วินาที ที่ทำให้กระดาษเปียก ประเมินว่าน่าจะใช้เวลา 167 วินาที ทุเรียนจริงจะเปียกเต็ม

·  เมื่อพิจารณาทำระบบอัติโนมัติพ่นสารเคมีสำหรับทุเรียน ซึ่งประกอบด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 1.5-2.0 แรงม้า จะใช้เงินลงทุนประมาณ 3,500-5,000 บาท